Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c bdesvxy45678

เชื้อไวรัสซิกา Zika Virus Disease อยู่ในตระกูลปลาวิไวรัส (Flavivirus) จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี (โรคไข้เลือดออก) ไวรัสเวสต์ไนล์ (โรคไข้เวสต์ไนล์) และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค

เชื้อไวรัสซิกาสามารถติดต่อได้ทางช่องทางหลัก โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด ส่วนช่องทางอื่น ๆ ที่สามารถเป็นไปได้คือ การแพร่ผ่านทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด หรือจากแม่ที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิกาสู่ทารกในครรภ์ ส่วนการแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์นั้นยังมีรายงานเป็นจำนวนน้อย จึงควรป้องกันการถูกยุงลายกัดเป็นหลัก

อาการ

ระยะฟักตัวของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ตั้งแต่รับเชื้อกระทั่งแสดงอาการใช้เวลาประมาณ 3-12 วัน อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้ปกติแล้วจะเป็นเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและทุเลาลงภายใน 2-7 วัน ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้ทารกมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (Microcephaly) ในทารกแรกเกิด หรือผู้มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท

การป้องกัน

สำหรับประชาชนทั่วไป

  • ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด นอนในมุ้งและทายากันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำและยุงลายตัวแก่
  • หากป่วยด้วยอาการไข้ ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะรุนแรงให้ไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง (ถ้ามี)
  • สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ควรปรึกษาแพทย์และป้องกันไม่ให้ยุงกัด

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

  • หน่วยงานสาธารณสุขมีการเตรียมระบบการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดยมีระบบเฝ้าระวัง 4 ด้านได้แก่ การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา การเฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีภาวะพิการแต่กำเนิด และการเฝ้าระวังกลุ่มอาการทางระบบประสาท และได้มีการเตรียมความพร้อม การดูแลรักษา และการดำเนินการควบคุมยุงพาหะนำโรค

13 ก.พ.2561 - ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

2693721
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
494
576
1757
2681480
20688
48125
2693721

Your IP: 3.17.150.163
2024-04-16 14:21