Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

390525

โครงการนวัตกรรม “ส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา ชุด หนูน้อยปฐมวัยยุคใหม่ ก้าวไกลสู่อาเซียน

เรื่อง การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย”

 

1. วัตถุประสงค์ของโครงการนวัตกรรม

    1.1.1 เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือการผลิตและการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา    ชุด หนูน้อยปฐมวัยยุคใหม่ ก้าวไกลสู่อาเซียน  เรื่องการสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ  และการใช้ภาษา  ชั้นอนุบาลปีที่ 1  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80

    1.1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลพัฒนาความพร้อมด้านสติปัญญาของนักเรียน  ก่อนและหลังการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา ชุด หนูน้อยปฐมวัยยุคใหม่ ก้าวไกลสู่อาเซียน เรื่อง การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ  และการใช้ภาษา ชั้นอนุบาลปีที่ 1  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ สังกัดสำนักการศึกษา  เทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 175 คน

              1.2 ผลงานสอดคล้องกับนวัตกรรม ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ คือ

          1. ประโยชน์ต่อนักเรียน 

                   1.1  นักเรียนมีสื่อ  คือ  สื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา เรื่องการสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษา ชั้นอนุบาลปีที่ 1  ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น  จำนวน  ๒0 ชนิดและชุดฝึก จำนวน  10  เล่ม

                   1.2  นักเรียนสามารถเรียนรู้เรื่อง การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษาได้  สืบเนื่องจากสื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญาและชุดฝึกเสริมทักษะสื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา เรื่องการสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษา  ชั้นอนุบาลปีที่  1  ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้นได้จัดเรียงลำดับเนื้อหาเป็นขั้นตอนเริ่มจากง่ายไปหายาก

                   1.3  หลังจากนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญาและชุดฝึกเสริมทักษะสื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา เรื่องการสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษา  ชั้นอนุบาลปีที่ 1  แล้ว นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบความพร้อมด้านสติปัญญาการสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษา  ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

          2. ประโยชน์ต่อครู

                   2.1  ครูมีสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ประกอบการจัดประสบการณ์ 

                   2.2  ครูสามารถใช้ชุดฝึกเสริมทักษะสื่อส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาการด้านสติปัญญา เรื่องการสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษา  ชั้นอนุบาลปีที่ 1 สอนเสริมนักเรียนที่เรียนดีและนักเรียนที่เรียนค่อนข้างอ่อน

                   2.3  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู  ที่จะพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  และเป็นแนวทางในการสร้างสื่อหรือชุดฝึกเสริมทักษะในเนื้อหาอื่นต่อไป

2. โครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในข้อใด

     -  การศึกษาที่มีคุณภาพ

         หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย  คือ  การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้  ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพภายใต้บริบทสังคม - วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก  ความเอื้ออาทร  และความเข้าใจของทุกคน  เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม (กระทรวงศึกษาธิการ.  2546 : 3-27)

      1.  หลักการ

              เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม  ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพ  โดยกำหนดหลักการดังนี้

              1.  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท

              2.  ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน  สังคม  และวัฒนธรรมไทย

              3.  พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย

              4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

              5.  ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

               หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ  3 - 5  ปี  เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา  เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล โดยหลักการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กวันนี้  ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือครู  ยังคงเข้าใจว่าหากสอนหนังสือหรือเนื้อหาวิชาแก่เด็กตั้งแต่ยังเล็กจะช่วยให้เด็กเรียนดีในเวลาต่อไป  จึงเกิดการยัดเยียดการอ่านเขียนเรียนเลข และเนื้อหาสาระให้เด็ก จะเห็นว่าหลายกิจกรรม เช่น  ศิลปศึกษา การเล่น ฯลฯ นั้นไม่มีความสำคัญ ความผิดพลาดอีกประการหนึ่ง ก็คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กมักมุ่งพัฒนาเด็กสำหรับสภาพสังคมปัจจุบัน ตามความเป็นจริง เด็กจะเติบโตไปสู่สังคมในอนาคต  การเตรียมเด็กวัยนี้จึงควรให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพการณ์ต่อไป

             1. มุ่งพัฒนาเด็กทุกด้าน

การพัฒนาเด็กทุกด้านหมายความว่า เด็กได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ  สังคม และสติปัญญา หรือมีการกล่าวอีกสำนวนหนึ่งว่า “พัฒนาเด็กทั้งตัว” หลักการนี้ถือว่าเป็นสากล แต่ละด้านจะมีรายละเอียดอะไรบ้างก็อาจดูได้จากแนวการจัดประสบการณ์หรือหลักสูตรนั่นเอง

             2. จัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

เด็กในวัยก่อนประถมศึกษาจะต่างจากระดับประถมศึกษาทั้งด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา  ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนก็จะแตกต่างกันไป

                    2.1 ด้านร่างกาย ไม่บังคับให้เขียนหนังสือ เพราะการเขียนจะทำได้ดีก็ต่อเมื่อกล้ามเนื้อนิ้วมือแข็งแรงพอที่จะสามารถจับดินสอแล้วขีดเขียนไปในทิศทางที่ต้องการได้และใช้มือและตาให้สัมพันธ์กันได้  การออกกำลังจะไม่เป็นแบบประถมศึกษา  แต่จะได้จากการเล่นกลางแจ้งอย่างอิสระ  รับประทานอาหารครบ  5 หมู่  เนื่องจากเป็นระยะที่จะพัฒนาสมองได้ ฯลฯ

                   2.2 ด้านอารมณ์-จิตใจ  กิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาอารมณ์ - จิตใจ  ได้ดีที่สุดสำหรับเด็กวัยนี้จะเป็นกิจกรรมที่เหมาะสม  เช่น  ศิลปศึกษา และการเล่นอย่างอิสระ  การจัดตารางกิจกรรม  โดยจัดช่วงเวลาให้เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม  และวัยของเด็ก จะช่วยพัฒนาอารมณ์-จิตใจได้เป็นอย่างดี  ฯลฯ

                   2.3 ด้านสังคม  ให้โอกาสเด็กได้เล่นร่วมกันอย่างอิสระ จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ  ให้เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปศึกษาอย่างอิสระ จะช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าแสดงออก ฯลฯ

                   2.4 ด้านสติปัญญา  ให้โอกาสเด็กได้ทำความเข้าใจพื้นฐานทางภาษาคณิตศาสตร์  จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ทำท่าประกอบการร้องเพลงหรือท่องคำประพันธ์  และจะให้อ่าน - เขียน  เมื่อเด็กมีความพร้อมที่จะทำ


3. ลักษณะของโครงการ

      -  โครงการที่ต่อยอดจากโครงการเดิม ชื่อโครงการเดิม โครงการผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย  ซึ่งได้เริ่มไว้ในปี พ.ศ. 2558


4. ความสำคัญของโครงการนวัตกรรม

          การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ "ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก" ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาและเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย จึงเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา อย่างเหมาะสมตามวัยและเต็มศักยภาพตลอดจนเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองและเป็นพื้นฐานของการศึกษาระดับสูงขึ้นต่อไป การจัดการศึกษาปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง พ่อ แม่ และผู้ใกล้ชิดเด็กเป็นผู้ช่วยเหลือให้เด็กมีพัฒนาการและเตรียมความอย่าง เหมะสม เนื่องจากช่วงวัยในบางช่วงเด็กยังต้องอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะในช่วง 0-5 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงที่มีการเรียนรู้และพัฒนาการได้มากที่สุดโดยในยุคสมัยนี้จะเห็นว่าเด็กจะอยู่กับเทคโนโลยีมากเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีพัฒนาการในบางส่วน แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ใน  การสอนลูกหรือปล่อยให้เขาอยู่กับมันมากจนเกินไป ทำให้เด็กในยุคสมัยนี้มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยและมีการพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ไม่เต็มที่ การมีสื่อที่ดีต้องเป็นสื่อที่จะสามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการครบ 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสติปัญญา และด้านสังคม ดังนั้น เทศบาลนครอุบลราชธานี เห็นว่าการที่ครูและผู้ปกครองได้ผลิตสื่อในการเสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยจะเป็นกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ใน  การพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยเกิดการเปลี่ยนแปลอย่างเป็นรูปธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างดี โดยเฉพาะการใช้วัสดุจากธรรมชาติจากท้องถิ่นนำมาเป็นสื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับนวัตกรรมการผลิตสื่อเพื่อเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยขึ้น


5. ความคิดสร้างสรรค์ของโครงการนวัตกรรม

        5.1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถและทักษะในการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ และการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        5.2  เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์จากการบูรณาการผ่านการเล่นประกอบการใช้ชุดสื่อ ชุดหนูน้อยปฐมวัยยุคใหม่ ก้าวไกลสู่อาเซียน  เรื่อง การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบและการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        5.3  เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีทักษะในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบและการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


6. ความสามารถในการถ่ายทอดโครงการนวัตกรรม

        6.1  ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดแข่งขันสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การ

แข่งขันทักษะวิชาการ งานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 25 วันที่ 19 – 21 มิถุนายน  2560 ณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

        6.2  ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดแข่งขันสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การแข่งขันทักษะวิชาการ งานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 26 วันที่ 28  มิถุนายน 2561 ณ เทศบาลเมืองนางรอง  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์

        6.3 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดแข่งขันสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา ศูนย์พัฒนา

เด็กเล็ก การแข่งขันทักษะวิชาการ งานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ประจำปี 2561 วันที่ 9 – 11 กันยายน  2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

        6.4 ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานอื่นๆ เกี่ยวกับสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา และการจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิชาการ


7. ความยั่งยืนของโครงการนวัตกรรม

      -  เป็นโครงการที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ปรับเปลี่ยนใช้ได้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


8. ผลกระทบของโครงการนวัตกรรม

      -  ไม่มี


9. การมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่าย

      -  มีการเผยแพร่โครงการนวัตกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  เช่น ครู ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้มีส่วนร่วม

      -  เป็นวิทยากร สาธิต จัดทำการผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน

      -  มีการจัดทำเอสารเผยแพร่ / แผ่นพับ ผลงานทางวิชาการสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน

      -  มีแบบสอบถาม / แบบประเมินความพึงพอใจ

      -  มีการแสดงผลงานทางวิชาการสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา

      -  มีการแสดงนิทรรศการผลงานสื่อนวัตกรรม

      -  มีการรายงานผลการพัฒนาสื่อนวัตกรรม


10. บทเรียนที่ได้รับ

      -  ไม่มีงบประมาณในการจัดทำโครงการนวัตกรรม

 

390526

390527

390528

390529

390530

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

2695617
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
795
601
3653
2681480
22584
48125
2695617

Your IP: 18.117.158.47
2024-04-18 22:52