Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

ข้อแนะนำการเสียภาษีในเขตเทศบาล - ในเขตเทศบาลนั้น ประชาชนในท้องถิ่น มีหน้าที่จะต้องภาษีแก่เทศบาลเพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้

1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่เก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ให้เช่าที่ทำการค้าขาย ที่เก็บสินค้า ที่ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ให้ญาติ พ่อแม่ หรือผู้อื่นอยู่อาศัยหรือใช้เพื่อหาประโยชน์อย่างอื่น ยกเว้นโรงเรือนที่อยู่อาศัยเอง

  •  ระยะเวลาการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน 

           - ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินต้องไปยื่นแบบแสดงรายการ     แห่งทรัพย์สิน (ภรด.2) ที่กองคลัง เทศบาลเมืองวารินชำราบ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ของทุกปี โดยต้องเป็นผู้กรอกรายการทรัพย์สินด้วยตัวเองให้ครบถ้วน หากไม่ยื่นแบบ ภ.ร.ด. 2 ภายในกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท แต่ถ้า 4 เดือน พนักงานเก็บภาษีอาจสั่งตามกฎหมายยึดและขายทรัพย์สินได้

2. ภาษีบำรุงท้องที่ หรือ ภาษีที่ดิน คือ   ภาษีที่เรียกเก็บจากเจ้าของที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินในเขตเทศบาล โดยผู้ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 1 งานและ  ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้รับการ ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

  • ระยะเวลาการเสียภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีที่ดิน 

          - ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงสิ้นเดือนเมษายนของทุกปี  โดยยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ณ เทศบาลเมืองวารินชำราบ หากพ้นกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 24 ต่อปี ส่วนผู้ที่หลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม


การชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของเทศบาลเมืองวารินชำราบ

1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับ    ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง เช่น ตึก อาคาร คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในเขตเทศบาลซึ่งใช้หาประโยชน์ โดยใช้เป็นสถานประกอบการพาณิชย์ต่าง ๆ ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือน และที่ดินกับเทศบาล

  • ระยะเวลาการชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี
  • การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

             -  ขอรับแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์สิน (แบบ ภ.ร.ด.2) ที่งานผลประโยชน์ กรอกรายละเอียดและยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อประเมินภาษีภายในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี
             -  ขอรับใบแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ร.ด.8) จากเทศบาลแล้วชำระเงินภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งการประเมิน

  • หลักฐานที่นำไป

             •    สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก
             •    บัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้าน
             •    ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร
             •    ใบเสร็จรับเงิน ปีที่ผ่านมา

  • บทกำหนดโทษ

             1.    ถ้าไม่ชำระเกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ให้เพิ่มร้อยละ 2.50 ของค่าภาษีที่ค้าง
             2.    ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 5 ของค่าภาษีที่ค้าง
             3.    ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
             4.    ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน ให้เพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ค้าง    
2.ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติ บุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินระยะเวลาการชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี

  • การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่

             •    ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ไปยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (แบบ ภ.บ.ท.5) ที่งานผลประโยชน์ ส่วนพัฒนารายได้ สำนักการคลัง เทศบาลนครเชียงราย และชำระภาษีภายในเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี
             •    กรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้องยื่น แบบแสดงรายการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

  • หลักฐานที่นำไป

             •    สำเนาโฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก
             •    บัตรประจำตัวประชาชน
             •    ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว

  • บทกำหนดโทษ

            1.    ผู้ใดจงใจไม่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) หรือไม่ยอมชี้แจง หรือไม่ยอม แจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            2.    ผู้ใดโดยรู้แล้วหรือจงใจแจ้งาข้อความอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
            3.    ผู้ใดไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

 

3.ภาษีป้าย ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการ ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดง หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย คือ เจ้าของป้าย หรือผู้ครอบครองป้ายระยะเวลาการชำระภาษี คือ มกราคม - มีนาคม ของทุกปี

  • การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย

            -    ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ งานผลประโยชน์ ส่วน พัฒนารายได้ สำนักการคลัง เทศบาลนครเชียงราย ภายในเดือนมกราคม - มีนาคม ของทุกปี และต้องชำระภาษีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
            -    ผู้ใดติดตั้งป้ายอันต้องเสียภาษีหลังเดือนมีนาคม หรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพอันเป็นเหตุให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในวันที่ 15 นับแต่วันที่ติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข

  • บทกำหนดโทษ

           1.   ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีก เลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
           2.    ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งข้อความเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 50,000 บาท
           3.    ผู้ใดไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย
           4.    ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินภาษีป้ายลดน้อยลง ให้ เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม

การแจ้งการย้ายที่อยู่ (กรณีแจ้งย้ายเข้า)
เมื่อมีการแจ้งย้ายเข้าหรือย้ายออกจากบ้านใด เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับจากวันที่ย้ายเข้าหรือย้ายออก โดยดำเนินขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหมดังนี้่
  1. ยื่นหลักฐานพร้อมใบย้าย ตรวจสอบเอกสาร ( 2 นาที ) เอกสารแจ้งย้ายที่อยู่หลังจากแจ้งเกิดแล้ว
  2. ลงรายการตามใบย้ายในคอมพิวเตอร์ ( 3 นาที )
  3. เพิ่มชื่อเข้าทะเบียน ( 2 นาที )
  4. นายทะเบียนลงนามในใบย้ายและทะเบียนบ้าน ( 2 นาที )
  5. มอบเอกสารหลักฐานให้ผู้แจ้ง ( 1 นาที )
 
  ** หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง **
  - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บ้านที่จะแจ้งการย้ายเข้า
  - บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
  - ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
  - ในกรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาแจ้งย้ายได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมบัตรประจำเจ้าบ้านมอบให้แก่ผู้แจ้งย้ายดำเนินการแทน
การแจ้งการย้ายที่อยู่ (กรณีแจ้งย้ายออก)
เมื่อมีการแจ้งย้ายเข้าหรือย้ายออกจากบ้านใด เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียน
ท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับจากวันที่ย้ายเข้าหรือย้ายออก โดยดำเนินขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหมดังนี้่
  1. ยื่นคำร้อง ท.ร.600 และหลักฐานผู้แจ้ง (2 นาที)
  2. พิมพ์ใบย้ายในคอมพิวเตอร์/พิมพ์ใบย้าย ตอน 1, 2 ( 3 นาที )
  3. จำหน่ายชื่อผู้ย้ายออกจากทะเบียน ( 2 นาที )
  4. นายทะเบียนลงนามใบใบย้าย และคำร้อง ท.ร.600 ( 2 นาที )
  5. มอบใบย้ายตอนที่ 1, 2 พร้อมหลักฐานอื่นให้ผู้อื่นแจ้ง ( 1 นาที )
 
  ** หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง **
  - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  - บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
  - ที่อยู่ที่แจ้งย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
  - ในกรณีเจ้าบ้านไม่สามารถมาแจ้งย้ายได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมบัตรประจำเจ้าบ้านมอบให้แก่ผู้แจ้งย้ายดำเนินการแทน
การแจ้งการย้ายที่อยู่ (กรณีแจ้งย้ายปลายทาง)
ผู้ที่ย้ายที่อยู่ สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนท้องที่แห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิมด้วยตนเอง โดยดำเนินขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหมดังนี้่
  1. ยื่นคำร้องพร้อมตรวจสอบเอกสาร (3นาที) เอกสารแจ้งย้ายที่อยู่หลังจากแจ้งเกิดแล้ว
  2. พิมพ์ใบแจ้งย้ายที่อยู่ในคอมฯ เพิ่มเข้าทะเบียน (3นาที)
  3. ออกใบเสร็จ เก็บค่าธรรมเนียมตามระเบียบฯ (2นาที)
  4. ทะเบียนลงนามในใบย้ายทะเบียนบ้าน/ส่งคืนผู้ร้อง (2นาที)
 
  ** หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง **
  - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บ้านที่จะแจ้งการย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
  - บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
  - หนังสือยินยอม ของเจ้าของบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวของเจ้าของบ้านที่จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่

การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน(กรณีขอมีบัตรครั้งแรก)

1. พิมพ์ บ.ป.1 พิมพ์ลายนิ้วมือ (3 นาที)

2. ถ่ายรูปด้วยระบบ VDO (3 นาที)

3. พิมพ์บัตรฯด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (2 นาที)

4. ออกใบเสร็จ ค่าธรรมเนียมส่งมอบบัตรฯ (2 นาที)

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ทุกกรณี)

- ใบสูติบัตร (กรณีอายุ 15 ปี ถ้ามี)

- บัตรเดิม (กรณีบัตรหมดอายุ บัตรชำรุดในสาระสำคัญหรือเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)

- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (กรณี เปลี่ยนชื่อตัวสกุล)

- หลักฐานการแจ้งความบัตรหายหรือถูกทำลาย (กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย)

- หนังสือสำคัญประจำตัวของบุคคลต่างด้าวของบิดา มารดา (กรณีเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าว)

- หลักฐานอื่นที่แสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย เช่น ส.ด.8 ส.ด.9 เป็นต้น

การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน(กรณีขอเปลี่ยนบัตรใหม่)

1. พิมพ์ บ.ป.1 พิมพ์ลายนิ้วมือ (3 นาที)

2. ถ่ายรูปด้วยระบบ VDO (3 นาที)

3. พิมพ์บัตรฯด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (2 นาที)

4. ออกใบเสร็จ ค่าธรรมเนียมส่งมอบบัตรฯ (2 นาที)

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ทุกกรณี)

- ใบสูติบัตร (กรณีอายุ 15 ปี ถ้ามี)

- บัตรเดิม (กรณีบัตรหมดอายุ บัตรชำรุดในสาระสำคัญหรือเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)

- หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (กรณี เปลี่ยนชื่อตัวสกุล)

- หลักฐานการแจ้งความบัตรหายหรือถูกทำลาย (กรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย)

- หนังสือสำคัญประจำตัวของบุคคลต่างด้าวของบิดา มารดา (กรณีเป็นบุตรของบุคคลต่างด้าว)

- หลักฐานอื่นที่แสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย เช่น ส.ด.8 ส.ด.9 เป็นต้น

การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน(กรณีบัตรหมดอายุ)

1. พิมพ์ บ.ป.1 พิมพ์ลายนิ้วมือ (3 นาที)

2. ถ่ายรูปด้วยระบบ VDO (3 นาที)

3. พิมพ์บัตรฯด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (2 นาที)

4. ออกใบเสร็จ ค่าธรรมเนียมส่งมอบบัตรฯ (2 นาที)

ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชั่งโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ โดยดำเนินขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหมดังนี้่
  1. ยื่นคำร้องแบบ  ท.ร.31 ตรวจสอบหลักฐาน ( 3 นาที )
  2. คัดแบบรายการบุคคลจากฐานข้อมูล ( 3 นาที )
  3. ออกใบเสร็จค่าธรรมเนียม ( 2 นาที )
  4. ชื่อลงนายทะเบียนและส่งมอบหลักฐานคืนผู้แจ้ง ( 2 นาที )
 
  ** หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง **
  - บัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
  - หนังสือรับรองการตาย (กรณีตายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล)
  - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

2696616
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
953
841
4652
2681480
23583
48125
2696616

Your IP: 3.147.103.8
2024-04-19 19:07