Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c glnrsvxy2378

โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของระบบสมองส่วนกลาง ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นผลให้มีอัตราการตายสูง และก่อให้เกิดความพิการทางสมองในรายที่รอดชีวิต

โรคไข้สมองอักเสบเจอี เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แจแปนีส เอ็นเซฟฟาไลติส หรือเชื้อไวรัสเจอี (Japanese encephalitis: JEV) พบผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอีรายแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2414

ผู้ติดเชื้อไวรัสเจอีส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่ถ้ามีอาการมักรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต โรคนี้อัตราป่วยตายประมาณหนึ่งในสาม อาการและอาการแสดงของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะอาการนำเริ่มจากผู้ป่วยมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ มักพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ตัวแข็งเกร็ง
  2. ระยะสมองอักเสบเฉียบพลัน คือ มีไข้สูงลอย มีอาการชักเกร็ง คอแข็ง มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ซึม หมดสติ หรือบางรายอาจเป็นอัมพาต
  3. ระยะพื้นโรค ผู้ป่วยที่รอดชีวิตประมาณร้อยละ 40 – 60 มักพบความผิดปกติทางจิตประสาท และเชาวน์ปัญญา ความผันแปรทางอารมณ์ มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป

การป้องกันและควบคุมโรค สามารทำได้โดย

  1. การให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับวงจรการเกิดโรค อาการของโรคและวิธีป้องกันการเกิดโรค
  2. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ตายแล้ว และวัคซีนที่ทำจากเชื้อมีชีวิตที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ (วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์) วัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ฉีด 2 เข็ม ในเด็กอายุ 1 ปี และอายุ 2 ปีครึ่ง โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง - วัคซีนชนิดเชื้อตายให้ฉีดรวม 3 ครั้ง มีระยะห่างระหว่างเข็มคือ 4 สัปดาห์ และ 1 ปี ตามลำดับ ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อนแต่ยังไม่ครบสามารถฉีดต่อด้วยวัคซีนชนิดเชื้อเป็นได้
  3. ควบคุมและกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเป็นต้น
  4. ควบคุมสัตว์เลี้ยงที่สามารถแพร่พันธุ์เชื้อไวรัสเจอี เช่น เลี้ยงหมูในคอกที่ห่างจากที่อยู่อาศัยของคน อาจทำคอกที่มีมุ้ง หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้สัตว์เลี้ยงดังกล่าว 

2  กุมภาพันธ์ 2561 - แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดยเทศบาลนครอุบลราชธานีร่วมกับ สสส.

newscms thaihealth c adegkloqtw34

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ (Rabies Virus) คนสามารถติดต่อโรคได้โดยถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเชื้อ เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น กัด หรือข่วน ซึ่งเชื้อจะออกมากับน้ำลายของสัตว์ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นระยะ ๆ

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญที่สุดคือ การเสริมภูมิคุ้มกันในสุนัขซึ่งเป็นสัตว์นำโรคหลัก คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสุนัข และระวังอย่าให้สุนัขหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อส่วนใหญ่จะมาจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคอยู่แล้ว รวมทั้งการควบคุมจำนวนสุนัข ซึ่งการป้องกันโรคสามารถทำได้ดังนี้

  1. คนเลี้ยงสุนัขควรนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นวิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุด ถ้าสุนัขในพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีน อย่างน้อยร้อยละ 82 จึงจะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ได้
  2. ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง อย่าปล่อยให้เด็กเล็กอยู่กับสุนัขตามลำพัง และสอนให้เด็กรู้จักระมัดระวังเมื่ออยู่ใกล้สุนัข อย่ารังแก อย่าแกล้ง อย่าทำให้สุนัขตกใจ สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ให้สุนัขไปกัดคน และไม่ก่อความเดือดร้อนหรืออันตรายแก่ผู้อื่น
  3. ควบคุมจำนวนสุนัขไม่ให้เพิ่มขึ้น ผู้เลี้ยงสุนัขควรนำสุนัขไปรับการคุมกำเนิดหรือนำไปทำหมัน และไม่นำสุนัขที่ไม่ต้องการไปปล่อย
  4. ผู้ที่ถูกสัตว์ที่เสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือข่วน ต้องรีบล้างแผลใส่ยา กักสุนัขไว้ 10 วัน และไปหาหมอโดยเร็วที่สุด สุนัขที่กัดคนหรือสัตว์อื่นแล้วตายลงภายใน 10 วัน ต้องส่งหัวไปตรวจที่ห้องปฏิบัติหรือติดต่อปศุสัตว์ในพื้นที

2  กุมภาพันธ์ 2561 - แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดยเทศบาลนครอุบลราชธานีร่วมกับ สสส.

newscms thaihealth c bglmnrsvy257

 ไม่ควรให้หิวจัดหรืออิ่มจัด และ “อาหารเช้าต้องดี อาหารเที่ยงต้องอิ่ม อาหารเย็นต้องน้อย” ปริมาณมื้อเช้าร้อยละ 35 มื้อเที่ยงร้อยละ 40 มื้อเย็นร้อยละ 25 โบราณกล่าวว่า “มื้อเย็นลดน้อยหน่อย ชีวิตยืนยาวถึงเก้าสิบ” เป็นการเน้นถึงปริมาณอาหารมื้อเย็น ควรอยู่ในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับมื้ออื่น

 เพื่อลดการทำงานของระบบการย่อยอาหาร ป้องกันการตกค้างของอาหารในกระเพาะอาหาร ลำไส้ ป้องกันภาวะอ้วน ป้องกันการนอนหลับไม่สนิท ลดการรบกวนภาวะพักผ่อนฟื้นฟูของร่างกาย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการบำรุง ดูแลสุขภาพ เพื่อให้เกิดอายุยืนยาว นอกจากนี้หลังอาหารใหม่ๆ ไม่ควรนอนหลับทันที

30 มกราคม 2561 - แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดยเทศบาลนครอุบลราชธานีร่วมกับ สสส.

newscms thaihealth c cijmpqtuvx16

การนอนหลับที่ดีต้องไม่สะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก จนทำให้นอนไม่เต็มอิ่ม และรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลาทำงานระหว่างวัน

เคล็ดลับในการนอนให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่นและมีพลังมาฝาก มีดังนี้

- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และกาเฟอีน เนื่องจากมีผลทำให้ร่างกายขับน้ำออกมามาก ทำให้ต้องตื่นปัสสาวะบ่อยๆ

- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และกาเฟอีนก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชม.

- เลือกชุดนอนที่เหมาะสม ใส่แล้วรู้สึกสบาย ระบายอากาศได้ดี ไม่หนาจนเกินไป ใส่แล้วไม่อึดอัด เช่น ผ้าฝ้ายหรือผ้าซาติน

- เลือกเครื่องนอนที่ไม่แข็งจนเกินไป หรืออ่อนยวบจนยุบตัวเป็นหลุม เพราะนอกจากจะทำให้นอนหลับไม่สนิท หลับไม่สบายแล้ว ยังอาจทำให้ปวดหลังได้ด้วย

- เลิกนิสัยเปิดทีวีหรือวิทยุทิ้งไว้ตอนนอน เพราะนอกจากจะเปลืองค่าไฟโดยไม่จำเป็นแล้ว แสง สี และเสียง จากทีวีอาจส่งผลกระทบต่อการนอนของคุณ ทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับได้ไม่เต็มที่

- ไม่ควรเปิดไฟนอน แนะนำให้เลือกใช้โคมไฟที่มีแสงนวลตา เช่น แสงสีเหลือง-ส้ม นำไปวางไว้ให้ห่างจากเตียงพอสมควร เพราะแสงสีเหลือง-ส้มนี้จะช่วยให้ประสาทตาของเราทำงานได้น้อยลงหรือถูกรบกวนจากแสงได้น้อยลง แต่ถ้าจะให้ดีควรปิดไฟนอนจะดีกว่า เพราะยังไงๆ ก็ช่วยให้คุณนอนหลับได้สนิทกว่า หรือหลับได้ลึกกว่าการเปิดไฟนอนอย่างแน่นอน

31 มกราคม 2561 - แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดยเทศบาลนครอุบลราชธานีร่วมกับ สสส.

newscms thaihealth c bgkpqrtxyz38

นอนหลับอย่างไร ให้สุขภาพดี โดย ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล จากคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล การนอนหลับมีความสำคัญกับสุขภาพของคนเรา เนื่องจาก 1 ใน 3 ของชีวิตคนเราในแต่ละวันเป็นเรื่องการพักผ่อนด้วยการนอนหลับ หรือ 8 ชั่วโมง จาก 24 ชั่วโมง ในแต่ละวัน การนอนมีความหมายมากที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี

ข้อแนะนำ การนอนหลับในช่วยอายุที่แตกต่างกัน เพราะตามธรรมชาติของร่างกายที่อายุเพิ่มขึ้น ร่างกายจะต้องการการนอนหลับน้อยลง คุณภาพการนอนหลับไม่ลึกเหมือนช่วยอายุน้อย ๆ

- แรกเกิด ต้องการการนอนหลับ 20 ชั่วโมง ขึ้นไป

- ขวบปีแรก ต้องการนอนหลับ 12 ชั่วโมง ขึ้น

- เด็กวัยประถม 9-11 ชั่วโมง

- เด็กวัยรุ่น 10 ชั่วโมง

- เด็กมหาวิทยาลัย 7-9 ชั่วโมง

- ผู้ใหญ่ตอนต้น 7-9 ชั่วโมง

- ผู้ใหญ่ตอนกลาง ถึงตอนปลาย 7-8 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตการนอนมีคุณภาพที่ดี

- ไม่จำเป็นต้องนอน 8 ชั่วโมง แต่สามารถนอนได้อย่างเพียงพอมีคุณภาพ หรือนอนเพียงแค่ 5-6 ชั่วโมงก็สามารถตื่นนอนขึ้นมาสดชื่นได้ เพราะนอนหลับลึกเพียงพอ และร่างกายต้องการเพียงพอ ก็สุขภาพดีได้

- ตัวเลขการนอนหลับ 8 ชั่วโมง นั้น เป็นสถิติทั่วไป ไม่จำเป็นต้องสร้างความกดดันให้ตัวเองว่าจำเป็นต้องนอนเยอะถึง 8 ชั่วโมง

- กลุ่มคนอัจฉริยะ หรือ Short Sleeper เป็นกลุ่มคนที่นอนน้อย สดชื่น สามารถทำงานได้อย่างปกติ

ปัญหาเกี่ยวกับการนอน

1. การนอนไม่หลับ (insomnia)

2. วงจรการหลับการตื่นเสียสมดุล เช่นการเดินทางข้ามทวีป (Circadian Rhythm Disorders or Jet Lag)

3. การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ (Movement Disorders) ซึ่งรบกวนการนอน

นอนไม่หลับ ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการ ซึ่งเกิดร่วมกับความผิดปกติในร่างกายและจิตใจ ลักษณะของการนอนไม่หลับ คือ ใช้เวลาในการนอนหลับ อาจเป็นชั่วโมงกว่าจะนอนหลับได้ หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืน หรือตื่นแล้วไม่หลับอีกเลย ดูเหมือนหลับแต่ความจริงแล้วรู้สึกตัวว่านอนไม่หลับ และตื่นเร็วกว่าปกติ

การนอนหลับที่มีคุณภาพ คืออะไร

1. ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น

2. จำนวนชั่วโมงนอนไม่สำคัญ

3. การนอนหลับด้วยร่างกายที่ผ่อนคลาย ร่างกายได้ยืดเหยียด ยืดเส้น ยืดสาย

4. การนอนหลับด้วยจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่มีความเครียด

5. การนอนหลับในตอนที่ร่างกายง่วงจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องบังคับตัวเองว่าต้องเข้านอนเวลานั้น เวลานี้ เพื่อกดดันร่างกาย และจิตใจ หรือยิ่งตั้งใจจะนอนหลับ จะยิ่งหลับยาก

6. การได้พักผ่อน หลับหรือไม่หลับจริง ๆ เท่ากับการที่ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย ร่างกายสามารถ หลั่งฮอร์โมน และไม่หลั่งสารเคลียด ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ปกติ และผ่อนคลายอย่างมีคุณภาพของร่างกายและจิตใจ สำคัญเท่ากับการนอนที่ีมีคุณภาพ (การผ่อนคลายที่มีคุณภาพ = การนอนหลับ)

7. การรักษาการนอนไม่หลับ ง่ายๆ คือ 1. การปรับพฤติกรรมและความเชื่อ เพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น 2. รักษาด้วยยา เนื่องจากไม่สามารถนอนหลับด้วยตนเองได้เป็นระยะเวลานาน เพราะมีความเครียด ซึ่งจะใช้ยานอนหลับในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสามารถปรับพฤติกรรมและความเชื่อ ได้ถูกต้องแล้ว ร่างกายนอนหลับได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยา

10 วิธี ที่ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น แบบยั่งยืน

1. ออกกำลังกายเป็นประจำ ออกทุกวัน หรือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมง ระวังไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน

2. ไม่งีบหลับตอนกลางวัน หรือตอนเย็น เพราะจะทำให้นอนหลับยากตอนกลางคืน และสมองเรียนรู้ผิด ๆ ว่าร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนไปแล้ว หรือหากอยากงีบหลับ ให้นั่งงีบหลับ แต่ไม่ให้อยู่ในท่านอน และไม่เกิน 30 นาที

3. งดเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ช็อคโกแลต และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงแอลกอฮอร์ และบุหรี่

4. งดอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานน้ำเปล่ามากในช่วงค่ำ ปกติร่างกายไม่หลั่งน้ำย่อยตอนกลางคืนอยู่แล้ว

5. ไม่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจได้รับการกระตุ้นก่อนนอน เช่น ดูหนัง อ่านหนังสือ พูดคุย เรื่องที่เครียด กระตุ้นจิตใจให้ตื่นเต้น ลุ้น และเคร่งเครียด

6. งดเล่นอุปกรณ์มือถือ สมาร์ทโฟน เวลา 30 นาทีก่อนเข้านอน เพราะอุปกรณ์มือถือ สมาร์ทโฟน มีผลทำให้หลับยาก เพราะแสงสีฟ้าจากจอ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ายังไม่มืด และหลั่งสารเมลาโตนิน ทำให้หลับยาก และเราได้รับข้อมูลเข้ามาตลอดเวลา ทำให้สมองไม่ได้พักผ่อน และนอนหลับไม่ดี คลื่นสมองไม่ปลอดโปร่ง (Alpha Wave) นอนหลับไม่ลึก

7. พยายามจัดเวลาสำหรับการพักผ่อน เพื่อให้ผ่อนคลาย เพื่อให้สมองโล่งปลอดโปร่ง ก่อนเข้านอน เช่นการฟังเพลงบรรเลงที่ช่วยปรับให้นอนหลับได้ดีขึ้น หรือนั่งสมาธิ สวดมนต์ ให้จิตใจสบาย ผ่อนคลาย อ่านหนังสือที่เป็นเรื่องที่เบาสบาย ทำให้จิตใจสบาย ผ่อนคลาย ดู หรือนึกถึงภาพ ธรรมชาติ

8. ปรับห้องนอนให้เหมาะสม อุณภูมิ แสง ความนุ่มสบาย

9. เตียงนอนมีไว้สำหรับนอน ไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเตียง เช่นโทรศัพท์ กินอาหาร อ่านหนังสือ และฯลฯ

10. เมื่อเอนตัวลงนอนแล้วให้หยุดคิดเรื่องที่เครียด ไม่สบายใจ ดังนั้นก่อนนอน ให้เขียนจดบันทึกสิ่ง ที่ไม่สบายใจลงไปบนกระดาษ ว่าอะไรคืออะไรที่เราแก้ไขได้ และอะไรที่เราแก้ไขไม่ได้ การเขียนที่ชัดเจนจะทำให้สมองโล่งขึ้น จิตใจจะสบายขึ้น เรื่องที่แก้ไขไม่ได้เราต้องปล่อยวาง ทักษะการปล่อยวาง คือทักษะที่สำคัญของมนุษย์ อย่างนึง เพราะเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ หากเรารู้ชัด จะมีสติมากขึ้น

11. ไม่ควรดื่มน้ำมากๆ หลังอาหารเย็น เพราะจะทำให้ตื่นมาปัสสวะ และขัดจังหวะการหลับลุก ดังนั้นก่อนเข้านอนควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย และหรือหากตื่นมาเข้าห้องน้ำก็ไม่ต้องกังวล ให้กลับไปนอนหลับอย่างผ่อนคลายต่อไป

12. ไม่ควรรู้สึกกังวล หรือเครียดหากนอนไม่หลับ หากเข้านอนผ่านไป 30 นาทีแล้วยังไม่หลับ ก็ให้หากิจกรรมผ่อนคลายทำ จนกว่าจะรู้สึกง่วงนอนแล้วจึงกลับเข้าไปนอนอีกครั้ง

13. อย่าวิตกกังวล แล้วดูนาฬิกาบ่อยๆ เพราะเป็นการกดดันตัวเอง ทำให้เครียด และนอนไม่หลับในที่สุด

14. หากคู่ของท่านเป็นคนนอนกรน และทำให้ท่านนอนหลับยาก ให้ท่านใช้ที่อุดหู และพาคู่ของท่าน ไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการนอนกรน แต่หากท่านยังคงนอนไม่หลับ ให้แยกเตียงนอนชั่วคราว เพื่อให้ท่านได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

15. ควรตื่นนอนตรงเวลาทุกๆ วัน ไม่ว่าท่านจะเข้านอนที่เวลากี่โมงก็ตาม เพราะจะทำให้วงจร การนอนหลับของท่านสมดุลย์ และไม่ควรตื่นนอนหลังเวลา 8 โมงเช้า เพราะร่างกายสัมพันธ์ กับพระอาทิตย์ขึ้นแลพระอาทิตย์ะตก

29 มกราคม 2561 - แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดยเทศบาลนครอุบลราชธานีร่วมกับ สสส.