Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

1)   ตามพระราชบัญญัติเทศบาล..2496  มาตรา 56   เทศบาลนครอุบลราชธานี  มีหน้าที่ต้องทำในเขต เทศบาล ดังต่อไปนี้

  1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
  3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
  7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
  9. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
  10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
  12. ให้มีและำรุงรักษาทางน้ำ
  13. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
  14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
  16. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด้ก
  17. กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
  18. การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
  19. จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
  20. จัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  21. การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
  22. การส่งเสริมกิจการท่องเที่ยว
  23. หน้าที่อื่นตามที่กฏหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

2)   มาตรา  54   เทศบาลนครอุบลราชธานี  อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล  ดังต่อไปนี้

  1. ให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  2. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
  3. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
  4. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
  5. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
  6. ให้มีการสาธารณูปการ
  7. จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
  8. จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
  9. ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
  10. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  11. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
  12. เทศพาณิชย์

3)   พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น..2542    ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะของเทศบาล (มาตรา  16)  ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2. รักษาทางบก  ทางน้ำ
  3. ควบคุมตลาด  ท่าเรือ  ที่จอดรถ
  4. การสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้าง
  5. การสาธารณูปการ
  6. ส่งเสริมอาชีพ
  7. การพาณิชย์  การลงทุน
  8. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ
  9. กำจัดมูลฝอย  สิ่งปฏิกูล  น้ำเสีย
  10. การสาธารณสุขและอนามัย
  11. ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
  12. ควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  13. ควบคุมการฆ่าสัตว์
  14. รักษาความปลอดภัยสาธารณสถาน
  15. ส่งเสริมการท่องเที่ยว
  16. จัดการศึกษา
  17. สังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต
  18. บำรุงรักษาจารีตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
  19. จัดการที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด
  20. ดูแลสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  21. ส่งเสริมกีฬา
  22. ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ
  23. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
  24. จัดการป่าไม้  ที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติ
  25. การผังเมือง
  26. การขนส่งและการจราจร
  27. ดูแลรักษาที่สาธารณะ
  28. ควบคุมอาคาร
  29. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  30. การรักษาความสงบเรียบร้อย
  31. กิจการอื่นตามประกาศของคณะกรรมการ