" นครอุบลยุคใหม่ ก้าวไปด้วยกัน ก้าวไปได้ไกล "

thzh-CNenja

วิสัยทัศน์

“ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนานครอุบลเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ”

ยุทธศาสตร์ มีแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบจราจร และผังเมือง
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ/สังคมและสิ่งแวดล้อม
  3. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร

เป้าประสงค์

  1. มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ให้มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนเกิดความสมานฉันท์ อยู่ดีกินดี ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางด้านการวิชาการ ด้านการกีฬาเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดี
  4. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น มีศักยภาพการผลิตสินค้าและบริการ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  6. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร ให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

  1. มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนเกิดความสมานฉันท์ อยู่ดีกินดี ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  3. จำนวนเด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ   และกีฬาเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  4. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  5. พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูแหล่งน้ำ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  6. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร ทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา

  1. 1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
    1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
    2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบจราจร
    3. ปรับปรุงและพัฒนาการวางผังเมือง
  1. 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ
    1. การแก้ไขปัญหาความยากจนและเพิ่มรายได้ของประชาชน
    2. ส่งเสริมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน
  2. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวและการให้บริการ
    1. ปรับปรุงและพัฒนาการคมนาคมขนส่ง
  1. 3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    1. สร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย
    3. ปรับปรุงและพัฒนาระบบกำจัดขยะมูลฝอย
    4. ปรับปรุงและพัฒนาแม่น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ
    5. ปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ของเมือง
    6. ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  1. 4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
    1. ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
    2. ปรับปรุงและพัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    3. จัดระเบียบชุมชนในการสร้างความปลอดภัยและเป็นระเบียบเรียบร้อย
    4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้ความรู้ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
    5. ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และให้ความรู้แก่ประชาชน
    6. จัดการสุขาภิบาลชุมชนและสถานที่
    7. ส่งเสริมและพัฒนาสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชน
    8. ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีทางการศึกษา
    9. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษา
    10. จัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
    11. ส่งเสริมเอกลักษณ์และประเพณีท้องถิ่น
    12. ส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา
    13. ส่งเสริมภาครัฐ /เอกชน /ประชาชน ในการมีส่วนร่วมพัฒนาการเมืองการปกครองระบอบ -ประชาธิปไตย
    14. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
    15. ส่งเสริมและพัฒนากีฬาสากล และกีฬาพื้นบ้าน
    16. ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  1. 5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
    1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน
    2. ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร
    3. ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ในการปฏิบัติงาน
    4. ปรับปรุงและพัฒนารายได้
    5. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของท้องถิ่น
    6. ปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติงานและเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    7. ส่งเสริมและพัฒนาการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับหน่วยงานอื่น

       ภายในประเทศและต่างประเทศ

  1. ส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการแผนงาน โครงการ และกิจกรรมของหน่วยงาน

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

Positioning จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและศักยภาพของเทศบาลนครอุบลราชธานี จึงกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) เทศบาลฯ ไว้ 3 ประเด็น คือ

  1. การพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมของเมืองให้มีมาตรฐาน สวยงาม และมีความปลอดภัย
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
  3. การพัฒนาระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมุ่งสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

:: แผนพัฒนาเทศบาลที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปี พ.ศ.2564