|
แต่เดิมนั้น ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี มิได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาลมาก่อน ท้องถิ่นจึงเข้าสู่ระบบการปกครองเป็นครั้งแรกโดยได้รับการสถาปนาเป็น เทศบาลเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2478 โดยผลของพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 52 ตอนที่ 79 พ.ศ.2478 การจัดตั้ง เทศบาลในขั้นต้น มีเนื้อที่ 1.65 ตารางกิโลเมตร ต่อมา เมื่อเมืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้มีการประกาศขยายเขตเทศบาลอีก 2 ครั้ง คือ ประกาศขยายเขตโดยพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2480 กับพระราชกฤษฎีกาขยายเขต พ.ศ.2499 อันมีเนื้อที่ 5.30 ตารางกิโลเมตร เป็นครั้งแรก โดยประกาศขยายเขต ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2524 เป็นครั้งที่ 2 โดยมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ตำบลในเมือง พร้อมทั้งบางส่วนของตำบลแจระแม ตำบลขามใหญ ตำบลปทุม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 14 ก. วันที่ 8 มีนาคม 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2542 เป็นต้น โดยยังมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร เท่าเดิม ปัจจุบัน พื้นที่ของเทศบาลนครอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านเมืองทางด้านทิศใต้ บริเวณตอนกลางของเมือง คือทุ่งศรีเมืองและบริเวณรอบ ๆ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มคล้ายแอ่งกะทะ ตั้งแต่ถนนอุปราชหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวลงมาถึง ถนนเขื่อนธานีิ พิพิิธภัณฑสถานแห่งชาติสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ถึงถนนหลวงบริเวณกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลยขึ้นไปวัดทุ่งศรีเมือง และวัดมณีวนาราม
|
อาณาเขตติดต่อ |
ทิศเหนือ |
ติดกับถนนรอบเมือง และบริเวณเขตทหารอากาศ |
ทิศใต้ |
ติดกับแม่น้ำมูล |
ทิศตะวันออก |
ติดกับห้วยวังนอง และบริเวณเขตทหารอากาศ |
ทิศตะวันตก |
ติดกับถนนรอบเมือง และลำมูลน้อย |
ประชากร |
|
ชาย |
35,450 คน |
หญิง |
40,626 คน |
จำนวนบ้าน |
32,016 หลังคาเรือน |
จำนวนครอบครัว |
18,518 ครอบครัว
|
หมายเหตุ |
ประจำเดือน เมษายน 2564
|
|
ตราสัญญลักษณ์
ลักษณะ : ดวงตรา ประจำเทศบาลนครอุบลราชธานีเป็นรูปดอกบัวขนาดใหญ ่เผยอกลีบบานอยู่เหนือน้ำ สองข้างประกอบด้วยดอกบัวตูม ก้านละดอกและใบก้านและสองใบ ครอบคลุมด้วยรัศมีรูปครึ่งวงกลม ด้านล่างมีกรอบรูป รูปครึ่งวงกลม ภายในจารึกอักษรไทยว่า " เทศบาลนครอุบลราชธานี " ความหมาย : ดอกบัวบาน : ดอกบัวตูม : ใบบัว : รัศมีครึ่งวงกลม อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี ความหมายย่อ ดอกบัวบาน : อุบลราชธานีที่มีความเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะแผ่กระจายความดีงามไปทั่วปฐพี ดอกบัวบานตูม : บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานี คือ พระวรราชภักดี และ พระตา ที่ได้นำท้องถิ่นแห่งนี้มาสู่ความเจริญโอบอุ้มชูมาแต่บรรพกาล ใบบัว : ความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมให้สิ่งชั่วร้ายมาแปดเปื้อน รัศมีครึ่งวงกลม : ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และความเป็นปราชญ์อันยิ่งใหญ่ที่อยู่คุ้มครองชาวอุบลราชธานีตลอดกาล
|