Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c bfgjlorvwxz8

คนอ้วนส่วนใหญ่มีไขมันที่หน้าท้อง และเพิ่มมากในช่องท้อง หรือ “อ้วนลงพุง” คนอ้วนลงพุง มีโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เพราะยิ่งรอบพุงใหญ่มากเท่าไร ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น นำมาสู่การเป็น "โรคอ้วนลงพุง" ตามด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง) รอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) เพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า

การที่จะดูว่า “อ้วนลงพุง” หรือไม่นั้น สามารถประเมินด้วยตาเปล่า หรือใช้สายวัดที่หาได้ทั่วไป วัดเส้นรอบพุงที่ระดับสะดือว่า วงรอบพุง ยาวกี่เซนติเมตร ทั้งนี้ผู้ชาย หากมากกว่า 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) หรือผู้หญิง หากมากกว่า 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว) ถือว่า “อ้วนลงพุง” โดยจำง่ายๆ เส้นรอบพุง ต้องไม่

เกินส่วนสูงหารสอง เช่น สูง 180 เซนติเมตร รอบเอวต้องไม่เกิน 180 หาร 2 เท่ากับ 90 เซนติเมตร เส้นรอบพุงต้องไม่เกินนี้ ตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะเบาหวานและคณะ

เคล็ดลับจัดการปัญหาน้ำหนักและอ้วนลงพุง คือการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และเชื่อมั่นต่อการลดน้ำหนัก ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์

20 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.