Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c adfhjnqrvw57

ควันของบุหรี่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น นิโคติน, น้ำมันดิน, แอมโมเนีย, แคดเมี่ยมและก๊าซคาร์บอนโมน็อกไซด์ ฯลฯ

พิษที่มีอยู่ในบุหรี่

นิโคติน เป็นส่วนประกอบที่ทำให้มีการติดบุหรี่ เมื่อเลิกสูบบุหรี่จะก่อให้เกิดอาการผิดปกติได้ระยะหนึ่ง ทั้งนี้เพราะสารนิโคติน ไปกระตุ้นหรือไปกดประสาทก็ได้ อาการที่เกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนและระยะเวลาที่สูบบุหรี่

สารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น สารพวกเบ๊นซไพรีน พบได้ในส่วนที่เป็นน้ำมันดินของควันบุหรี่ สารพวกนี้ได้เคยมีการทดลองนำไปสัมผัสกับผิวหนังหรือทางเดินลมหายใจของสัตว์ทดลอง ก็ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ สารเคมีพวกอื่นที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินลมหายใจ สารเหล่านี้เมื่อเข้าไปในหลอดลมเป็นต้นเหตุทำให้มีการหลั่งเอาน้ำเมือกหรือมิวคัส ออกมาจากเนื้อเยื่อที่บุหลอดลม ทำให้หลอดลมหดรัดตัวและมีขนาดเล็กลง นอกจากนั้น ยังทำให้คุณสมบัติในการขับถ่ายสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอดลมเสื่อมลง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งของปอดได้

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นส่วนประกอบร้อยละ 1-5 ของควันบุหรี่ สารฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ มีหน้าที่สำคัญในการรับเอาก๊าซอ๊อกซิเจน (อากาศดี) ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย สารฮีโมโกลบินนี้จะรับก๊าซคาร์บอนโมน็อกไซด์ได้ดีด้วย ในคนสูบบุหรี่จึงทำให้สารฮีโมโกลบินรับก๊าซอ๊อกซิเจนน้อยลง ทำให้ร่างกายขาดอ๊อกซิเจน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นจะพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีสมรรถภาพในการออกกำลังกายน้อยลงก๊าซคาร์บอนโมน็อกไซด์ยังเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคของหลอดเลือด ตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่า คนที่สูบบุหรี่อาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกแรง นอกจากนั้นแล้วยังอาจทำให้เกิดการผิดปกติเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย

22 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.