Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c adfklmopz456

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค จับมือภาคีเครือข่ายเดินหน้าหยุดบังคับตรวจเอชไอวี ลบหรือบวก ไม่สำคัญ ทำงานได้

          นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 1 มีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์สากลเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติ เพื่อยุติเอดส์ ซึ่งปีนี้สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค พร้อมภาคีเครือข่ายได้จัดแถลงข่าว “หยุดบังคับตรวจเอชไอวี ลบหรือบวก ไม่สำคัญ ทำงานได้”  ทั้งนี้ จากการสำรวจทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับการตีตราและเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเอชไอวี/เอดส์ ปี 2557 พบว่าร้อยละ 58 มีเจตคติรังเกียจผู้มีเชื้อเอชไอวี  และจากระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ปี 2559 พบว่า กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสอง เคยประสบเหตุการณ์การถูกรังเกียจ กีดกันในสถานที่ทำงาน สถานศึกษา ร้อยละ 13 และ 19 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้จากการร้องเรียนที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในสังคม โดยเฉพาะการบังคับตรวจเลือดก่อนรับเข้าทำงานหรือมีนโยบายตรวจเลือดพนักงาน  ส่วนสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพ ปี 2560 พบว่า บุคลากรผู้ให้บริการ ร้อยละ 21 ยังคงมีพฤติกรรมการให้บริการที่แสดงการรังเกียจ และเลือกปฏิบัติต่อผู้มีเชื้อเอชไอวี  ในขณะที่ผู้มีเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 11 มีประสบการณ์การถูกรังเกียจ เลือกปฏิบัติในการให้บริการในสถานพยาบาล ปัจจุบันประเทศไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ.2560–2573 คือ“ร่วมยุติปัญหาเอดส์ในประเทศไทยภายในปี พ.ศ.2573 ที่คำนึงถึงหลักการสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาคระหว่างเพศ”  โดยตั้งเป้าหมายลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ไม่เกิน 1,000 รายต่อปี ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่เกิน 4,000 รายต่อปี และลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ โดยร้อยละของประชาชนที่มีเจตคติรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหลือไม่เกินร้อยละ 5.8

28 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.