Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c glnrsvxy2378

โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของระบบสมองส่วนกลาง ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นผลให้มีอัตราการตายสูง และก่อให้เกิดความพิการทางสมองในรายที่รอดชีวิต

โรคไข้สมองอักเสบเจอี เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แจแปนีส เอ็นเซฟฟาไลติส หรือเชื้อไวรัสเจอี (Japanese encephalitis: JEV) พบผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอีรายแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2414

ผู้ติดเชื้อไวรัสเจอีส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ แต่ถ้ามีอาการมักรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต โรคนี้อัตราป่วยตายประมาณหนึ่งในสาม อาการและอาการแสดงของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

  1. ระยะอาการนำเริ่มจากผู้ป่วยมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ มักพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ตัวแข็งเกร็ง
  2. ระยะสมองอักเสบเฉียบพลัน คือ มีไข้สูงลอย มีอาการชักเกร็ง คอแข็ง มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ซึม หมดสติ หรือบางรายอาจเป็นอัมพาต
  3. ระยะพื้นโรค ผู้ป่วยที่รอดชีวิตประมาณร้อยละ 40 – 60 มักพบความผิดปกติทางจิตประสาท และเชาวน์ปัญญา ความผันแปรทางอารมณ์ มีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป

การป้องกันและควบคุมโรค สามารทำได้โดย

  1. การให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับวงจรการเกิดโรค อาการของโรคและวิธีป้องกันการเกิดโรค
  2. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ตายแล้ว และวัคซีนที่ทำจากเชื้อมีชีวิตที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ (วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์) วัคซีนทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ฉีด 2 เข็ม ในเด็กอายุ 1 ปี และอายุ 2 ปีครึ่ง โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง - วัคซีนชนิดเชื้อตายให้ฉีดรวม 3 ครั้ง มีระยะห่างระหว่างเข็มคือ 4 สัปดาห์ และ 1 ปี ตามลำดับ ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนเชื้อตายมาก่อนแต่ยังไม่ครบสามารถฉีดต่อด้วยวัคซีนชนิดเชื้อเป็นได้
  3. ควบคุมและกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเป็นต้น
  4. ควบคุมสัตว์เลี้ยงที่สามารถแพร่พันธุ์เชื้อไวรัสเจอี เช่น เลี้ยงหมูในคอกที่ห่างจากที่อยู่อาศัยของคน อาจทำคอกที่มีมุ้ง หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้สัตว์เลี้ยงดังกล่าว 

2  กุมภาพันธ์ 2561 - แบ่งปันองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดยเทศบาลนครอุบลราชธานีร่วมกับ สสส.