Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c cefhlnu45679

โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคยอดฮิตในปัจจุบัน อาจเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ที่ต้องเร่งรีบ อาหารเช้าที่ควรเป็นอาหารมื้อสำคัญ ก็ไม่ได้รับความสนใจ เพราะต้องเร่งรีบฝ่ากระแสการจราจร ก็เลยมีเพียงกาแฟหนึ่งแก้วกับขนมปังอีกหนึ่งแผ่น แล้วมาบำเรอเอาหนักๆ กันในตอนมื้อเย็น ซึ่งที่ถูกควรเป็นมื้อที่ไม่หนัก แถมบางวันกว่าจะได้กินมื้อเย็นก็เลยเวลาออกไปไกล “กรดไหลย้อน”ก็เลยถามหา

“โรคกรดไหลย้อน” หมายถึง การที่น้ำย่อย ซึ่งประกอบด้วยกรดเกลือในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไประคายต่อหลอดอาหาร และบริเวณลำคอ ทำให้มีอาการแสบลิ้นปี่ คล้ายเป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง โรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่ ตรงส่วนล่างของหลอดอาหาร ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดนี้จะคลายตัวเมื่อมีอาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะอาหารจนหมดแล้ว หูรูดนี้จะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไป ที่หลอดอาหาร ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้น กล้ามเนื้อหูรูดตรงส่วนล่างของหลอดอาหารนี้จะหย่อนสมรรถภาพ ทำให้มีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารมากกว่าปกติ ขอแนะนำสมุนไพรที่แก้อาการกรดไหลย้อนมาฝาก สมุนไพรตัวแรกที่ขอแนะนำก็คือ “ยอ” มีรสร้อน นิยมนำมาเป็นทั้งอาหารและยา ในการบำรุงเลือดลม แก้ปวด แก้ปวดเมื่อย แก้หวัด ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาอาการลมพัดขึ้น เช่น คลื่นไส้อาเจียน ไอ เรอ ซึ่งฤทธิ์รักษาอาการลมพัดขึ้นนั้นใกล้เคียงกับอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบันได้มีงานวิจัยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว อาทิ การศึกษาวิจัยในหนู พบว่า “ยอ” ซึ่งมีสารสำคัญ คือ สโคโปเลติน (scopoletin) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น สามารถลดการอักเสบของหลอดอาหารจากการไหลย้อนของกรดได้ผลดี พอๆ กับยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อน คือ รานิติดีน (ranitidine) และแลนโสพราโซล (lansoprazole) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านการหลั่งของกรด ต้านการเกิดแผล และทำให้การบีบตัวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยมีผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวข้องโดยตรง และยังมีรายงานว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมของรานิติดีน “ยอ” จึงเหมาะในการเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งจากการศึกษาวิจัยข้างต้น และการที่ “ยอ” มีรสร้อน ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ไม่เกิดลมในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน “ยอ” ยังช่วยให้กระเพาะบีบเคลื่อนตัวได้ดีขึ้น ทำให้อาหารเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น

สมุนไพรที่อาจใช้ร่วมกัน คือ ขมิ้นชัน เนื่องจากขมิ้นชันมีสรรพคุณในการรักษาอาการท้องอืด และช่วยขับน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กนานเกินไป ทั้งช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย มีผู้แนะนำให้กินขมิ้นชันก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ขนาดรับประทานคือ ครั้งละ 1 ช้อนชาสำหรับแบบผง หรือ 3 เม็ดๆ ละ 500 มก.

นอกจากนี้ยังมีผู้แนะนำให้ดื่มน้ำกะเพรา 1-2 แก้วๆ ละ 250 มล.หลังอาหาร 15-30 นาทีประโยชน์ของขมิ้นชันและน้ำกะเพรา จะช่วยเร่งการย่อยอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล ช่วยขับลม ลดกรด ลดอาการแน่นท้อง และช่วยบรรเทาอาการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ได้อีกด้วยน้ำขิง ให้สังเกตว่าจะดื่มแบบเย็นหรือร้อนดี เช่น ถ้าดื่มแบบร้อนแล้วรู้สึกท้องอืดไม่สบาย ก็ให้แก้เป็นดื่มแบบเย็น(วิธีการนี้ใช้สำหรับน้ำกะเพราด้วย)ว่านหางจระเข้เฉพาะส่วนที่เป็นวุ้น แช่ค้างคืนให้เมือกใสๆ ออกให้หมดแล้วนำมากิน เพื่อช่วยเคลือบกระเพาะใบเตยสดประมาณ 9 ใบ กับใบสดของว่านกาบหอยแครง 9 ใบ ต้มกับน้ำรวมกัน 2 ลิตร จนเดือดเคี่ยวไฟอ่อน 1 ชม. ตักครึ่งแก้วใส่น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และเกลือป่นเล็กน้อย กินต่างน้ำ วันละ 2-3 ครั้ง 4-5 วัน ดื่มต่อเนื่อง 3-6 เดือน

นอกจากนี้ยังมีกระเจี๊ยบเขียว รักษาโรคกระเพาะ เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยกำจัดสารพิษออกจากลำไส้ มะละกอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยในเรื่องขับถ่าย มะขามป้อม ช่วยขับพยาธิ ธาตุพิการ

6 ก.พ.61 - ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.