Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c gjklrtwx2489

กรมอนามัยแนะ 40 ไม้ประดับ ช่วยดูดสารพิษ มาตรการเสริมร่วมป้องกันฝุ่นละออง

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีบางพื้นที่มีค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอนเกินกว่ามาตรฐาน ว่า กรมฯ ได้รวบรวมไม้ประดับที่เป็นตัวช่วยในการดักจับสารพิษได้บางส่วน ถือเป็นตัวเสริมที่ทำร่วมกับมาตรการป้องกันฝุ่นละอองอื่นได้ดี เพราะไม้ประดับหลายชนิดสามารถดูดสารพิษในสิ่งแวดล้อมได้ โดยไม้ประดับจะดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอยู่บนหรือรอบๆ ราก และย่อยสลายโครงสร้างอินทรีย์สารที่ซับซ้อนได้ อีกทั้งใบของต้นไม้ยังสามารถดูดซับสารอินทรีย์ที่เป็นก๊าซและย่อยหรือถ่ายโอนของเสียไปยังรากเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์

นพ.ดนัย กล่าวว่า ไม้ประดับที่ช่วยดูดสารพิษที่แนะนำมีประมาณ 40 ชนิด และเป็นพืชที่สามารถหาได้ในประเทศไทย ได้แก่ 1.หมากเหลือง 2.จั๋ง 3.ออมทอง 4.กล้วยแคระ 5.คริสต์มาส 6.กุหลาบหิน 7.ลิ้นมังกร 8.หางจระเข้ 9.สนฉัตร 10.เยอบีร่า 11.เบญจมาศ 12.ไทรย้อยใบแหลม 13.ซุ้มกระต่าย 14.ปาล์มใบไผ่ 15.เดหลี 16.ปาล์มไผ่ 17.พลูด่าง 18.บอสตันเฟิร์น 19.เขียวหมื่นปี 20.สโนว์ดรอบ 21.มรกตแดง 22.หนวดปลาหมึก 23.สาวน้อยประแป้ง 24.โกสน 25.ยางอินเดีย 26.สับปะรดสี 27.ไทรใบเล็ก 28.วาสนาอธิษฐาน 29.ประกายเงิน 30.เศรษฐีเรือนใน 31.ไอวี 32.แววมยุรา 33.เข็มริมแดง 34.ฟิโลหูช้าง 35.ฟิโลเซลลอม 36.ฟิโลใบหัวใจ 37.หน้าวัว 38.เสน่ห์จันทร์แดง 39.กล้วยไม้พันธุ์หวาย และ40.สิบสองปัน

16 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c eghikostw238

เด็กที่มีทั้งความฉลาดทางการเรียนรู้และความฉลาดในการจัดการกับอารมณ์ เป็นเด็กที่ใคร ๆ ก็หลงรักและอยากเข้าใกล้ เพราะสองสิ่งนี้เป็นเหมือนเครื่องหมายสำคัญของความสำเร็จและความสุขในชีวิตคนเรา ดังนั้น การจะพัฒนาเด็กให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพของเขา เราจึงควรส่งเสริมทั้ง IQ และ EQ ควบคู่กันไป

IQ หรือ Intelligence Quotient หรือความฉลาดทางปัญญา คือความสามารถทางการสื่อสาร การเรียนรู้ การจำ การตัดสินใจ และการคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด และสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้เต็มตามศักยภาพของเด็ก หากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก

องค์ประกอบสำคัญของ IQ ที่ควรเสริมสร้างให้กับเด็กในช่วงปฐมวัย

  • ความช่างสังเกต  เป็นทักษะที่จะช่วยดึงศักยภาพในธรรมชาติของตัวเด็กออกมา ให้เขาเข้าใจในสิ่งรอบตัว และสามารถอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา
  • การถ่ายทอดจินตนาการ  เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของเด็กให้คนรอบข้างรับรู้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งต้องอาศัยทั้งทักษะด้านภาษา ทักษะทางสังคม และการควบคุมอารมณ์ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
  • การคิดเชื่อมโยงเหตุผล  เป็นความสามารถในการรับรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และสามารถทำนายความสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นรากฐานในการเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล
  • การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา  เป็นทักษะสำคัญที่สะท้อนถึงความฉลาดทางสติปัญญาผ่านการปฏิบัติ เพราะต้องอาศัยการทำงานที่ประสานกันของประสาทสัมผัสเพื่อการเรียนรู้ การคิด และการแก้ไขปัญหา

EQ หรือ Emotional Quotient หรือความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถในการเข้าใจตัวเองและผู้อื่น สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง และแสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีการมองโลกในแง่ดี ปรับตัวได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สามารถพัฒนาได้จากการเลี้ยงดู และการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมในวัยเด็ก

องค์ประกอบสำคัญของ EQ ที่ควรเสริมสร้างให้กับเด็กในช่วงปฐมวัย

  • การรู้จักและควบคุมอารมณ์  ทั้งอารมณ์อยากได้ อยากทำตามใจตัวเอง และการรู้จักอารมณ์ของตัวเอง สามารถสงบ อดกลั้นอารมณ์ได้โดยไม่เก็บกดอารมณ์ไว้
  • การเรียนรู้ระเบียบวินัย  ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องช่วยเด็กควบคุมความประพฤติอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เล็ก เพื่อที่เมื่อเด็กโตขึ้นแล้ว เขาสามารถเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองได้ โดยวินัยที่พ่อแม่ควรจะใส่ใจเป็นพิเศษมีตั้งแต่วินัยในเรื่องการเรียน วินัยในการควบคุมตัวเอง และวินัยในความประพฤติทั่วไป เช่น การเก็บสิ่งของ การตรงต่อเวลา หรือช่วยลูกน้อยดูแลตัวเองได้ตามวัย ไม่กดดันหรือปล่อยปละละเลยเขาจนเกินไป
  • ความสนุกสนานร่าเริง  เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็ก ที่เขาจะได้สนุกกับการเล่น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มกับเพื่อน ทำให้เด็กมีพื้นฐานอารมณ์ที่ดี จิตใจแจ่มใส และรู้จักมีปฏิสัมพันธืที่ดีกับคนรอบข้าง

15 ก.พ.2561 -  ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.

newscms thaihealth c cefmopqrsz69

มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เอง แต่ได้จากผักและผลไม้ วิตามินซีนี้มีความสำคัญดังนี้

1. ช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ และหลอดเลือด

2. ช่วยรักษาหลอดเลือดฝอย กระดูก และฟันให้แข็งแรง

3. ช่วยในกระบวนการสมานแผลให้หายได้เร็ว

4. ช่วยในการสร้างสารสำคัญในร่างกายของเรา เช่น อีพิเนฟริน คอร์ติโคสตีรอยด์ เป็นต้น

นอกจากนี้ วิตามินซียังช่วยให้การดูดซึมของธาตุเหล็กจากทางเดินอาหารได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

14 ก.พ.2561 - ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.

newscms thaihealth c dklmpqrtwxy8

เข่าเสื่อมเป็นอาการที่รักษาไม่หายขาด และมักจะมีอาการปวดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ป่วยมักทุกข์ทรมาน

แนวทางป้องกันไม่ให้เข่าเสื่อม

1. อย่ากินและนั่งมากจนอ้วน พบว่าถ้าลดน้ำหนักตัวลงได้ประมาณ 5 กิโลกรัม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 50 มีหลักฐานยืนยันในผู้มีอาการปวดเข่า พบว่าอาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถ้าน้ำหนักตัวลดลง

2.โครงสร้างเข่าผิดปกติ ลักษณะของโครงสร้างเข่าปกติมีหลายชนิด (เข่าโก่ง เข่าชิด หรือเข่าแอ่น) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น การเสริมรองเท้า การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือถ้าไม่สามารถทำอะไรได้

3. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาปะทะที่จะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บของเข่า ควรเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่เอามัน ไม่ควรเสี่ยงปะทะ เอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย

4.ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงานอาจต้องหาวัสดุที่นิ่มมารองบริเวณเข่าเพื่อกระจายแรงกด ถ้าจำเป็นอยู่ในท่าเหล่านี้นานๆ ให้พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ในกิจกรรมทางศาสนาที่ต้องนั่งพับเพียบกับพื้นเป็นเวลานาน ให้สลับนั่งพับเพียบซ้าย-ขวาบ่อยๆ ไม่ควรรอจนเข่าปวดแล้วจึงขยับ

5.เลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกหรือแรงบิดต่อข้อเข่าสูง เช่น การกระโดดซ้ำๆ การยกของหนักเกินกำลัง การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า

6.ลองวัดความยาวขาดู นอนหงาย ปล่อยขาตามสบายแต่ไม่กาง ให้เพื่อนคลำปุ่มกระดูกบริเวณที่เท้าสะเอว และกลางตาตุ่มของเท้าด้านใน วัดระยะห่างจากทั้ง 2 จุดในขาข้างหนึ่ง ถ้าขาสองข้างยาวไม่เท่ากันเกิน 2 เซนติเมตร ต้องเสริมรองเท้าในระยะที่ขาด

7.ออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง อาจใช้วิธีการที่ทำกันทั่วไป คือ ถุงทรายน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัม มาผูกกับข้อเท้า นั่งห้อยขาแล้วยกขึ้น-ลง ช้าๆ ถ้าได้ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ให้ทำซ้ำอีก 2 เซท หรือจะออกกำลังด้วยการยืนย่อเข่าทั้ง 2 ข้างประมาณ 20 องศา ค้างไว้ 1 วินาที แล้วเหยียดเข่า ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง ถ้ารู้สึกว่าง่ายไป อาจยืนขาเดียวพิงฝา ปรับจนทำได้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ทำซ้ำอีก 2 เซท

8. ถ้ามีอาการบาดเจ็บของเข่า มีอาการบวม ต้องทำการรักษา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เมื่อหายยังไม่สนิทต้องระวังไม่ให้เป็นซ้ำและอย่าปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง

9. ไม่ควรใส่ส้นสูง จะทำให้เข่าแอ่น มีโอกาสที่เข่าจะเสื่อมได้ง่าย สวมใส่รองเท้าที่เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภท เช่น รองเท้าวิ่งก็ควรมีส้นรองเท้าที่นิ่มรับแรงกระแทกได้ดี รองเท้าสำหรับใส่เล่นแบดมินตันหรือเทนนิสควรมีพื้นบางเพื่อไม่ให้พลิกได้ง่าย เป็นต้น

ถ้าดูแลเข่าของเราให้ดีวันนี้ จะปราศจากอาการปวดในวันหน้า

15 ก.พ.2561 - ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.

newscms thaihealth c bcfjknopvy49

โรคพยาธิใบไม้ตับ มีสาเหตุมาจากหนอนพยาธิที่มีชื่อเรียกว่า “พยาธิใบไม้ตับ” (Opisthorchis viverrini) ซึ่งมีรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ ส่วนหัวและท้ายเรียวมน ขนาดยาว 5-10 มิลลิเมตร กว้าง 0.7-1.5 มิลลิเมตร สีแดงเรื่อคล้ายสีโลหิตจาง ๆ โรคนี้เกิดได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แมว สุนัข เป็นต้น ในประเทศไทยพบมากทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วนภาคอื่น ๆ พบได้บ้างแต่น้อยมาก

ปัจจัยของการเกิดโรค

  1. จากนิสัยการกินอาหารของประชาชนท้องถิ่นที่นิยมกินอาหารที่ปรุงจากปลาน้ำจืดเกล็ดแบบดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ที่เรียกว่า “ก้อยปลา” ส่วนมากจะได้ปลามากในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ซึ่งปลามีตัวอ่อนพยาธิระยะติดต่อ “เมตาเซอร์คาเรีย” ในเนื้อปลามากกว่าฤดูอื่น ๆ
  2. การแพร่กระจายของโรคยังดำเนินอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสุขาภิบาลในชนบทยังพัฒนาไปไม่ทั่วถึง วิถีชีวิตที่ทำไร่ทำนา ยังถ่ายอุจจาระลงน้ำ หรือตามพุ่มไม้ เมื่อฝนตกจะชะอุจจาระลงแหล่ งน้ำ หรือลงบนพื้นดินทำให้หอยบิไทเนียหรือหอยไซมีโอกาสกินไข่พยาธิและเจริญเติบโตในหอยได้
  3. จากแหล่งน้ำต่าง ๆ มีหอยบิไทเนียหรือชอนไซ (โฮสต์กึ่งกลางตัวที่ 1) และมีปลาน้ำจืดเกล็ดขาว (โฮสต์กึ่งกลางตัวที่ 2) อยู่ร่วมกันทำให้วัฏจักรชีวิตของพยาธิใบไม้ตัดครบวงจรสมบูรณ์
  4. รัฐบาลสนับสนุนการเกษตรโดยสร้างแหล่งน้ำเป็นการเพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์ของหอยและปลา ซึ่งเป็นโฮสต์กึ่งกลางส่งผ่านต่อโรค ดังนั้นการปรุงสุกด้วยความร้อนในการกินปลาจึงจะปลอดภัยจากการกินตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับเข้าไป

ผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับเมื่อเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยจะแน่นท้องที่ใต้ชายโครงขวา อาจจุกแน่นไปที่ใต้ลิ้นปี่ อาการอื่น ๆ ได้แก่ เบื่ออาหาร ท้องอืด ตับโต ถ่ายเหลวเป็นบางครั้ง มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการ “ออกร้อน” ในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยอาจมี ท่อน้ำดีอุดตัน เกิดภาวะตัวเหลืองหรือดีซ่าน มีตับโตมาก คลำได้เป็นก้อนแข็ง ผิวขรุขระ ตับนุ่มอ่อน มีน้ำในช่องท้องและมีอาการบวมน้ำ ผู้ป่วยอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะระบบอื่น ๆ อาการจะทรุดหนักและเสียชีวิต ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยอมรับว่าพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีในคน พยาธิใบไม้ตับถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

การรักษา

ให้ยาพราซิควอเทล 600 มิลลิกรัม ตามน้ำหนักตัว ให้กิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม กินครั้งเดียวหลังอาหารหรือก่อนนอน

การควบคุมและป้องกัน

  1. ให้สุขศึกษาทราบถึงอันตรายที่พยาธิใบไม้ตับ เป็นสาเหตุทำให้เป็นมะเร็งท่อน้ำดี ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่ชอบกินอาหารเมนูปลาปรุงดิบ กินปลาดิบ หรือปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ
  2. ส่งเสริมให้ประชาชนถ่ายอุจจาระในส้วม หรือขุดหลุมฝังกลบเมื่อถ่ายนอกส้วม
  3. ให้การรักษาสัตว์รงโรคที่เป็นแหล่งแพร่กระจายของพยาธิใบไม้ตับ คือ สุนัข แมว ฯลฯ (อาหารประเภท หอย ปลา กินแบบปรุงสุก) เพื่อกำจัดตัวอ่อน พยาธิใบไม้ในโฮส์กึ่งกลาง (อาหารทุกเมนูปรุงให้สุกด้วยความร้อน)
  4. ให้การรักษาผู้ที่เป็นพยาธิใบไม้ตับทุกคน 

13 ก.พ.2561 -  ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.