Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c chiklpruvwy4

เรื่องน่ารู้ ที่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกปฐมวัยไม่ควรพลาดที่จะทำเพื่อให้ลูกมีสุขภาวะกายและใจที่สมบูรณ์ ถ้าคุณพ่อคุณแม่พร้อมแล้ว เราลองไปเช็กกันเลยว่า ตอนนี้เราทำไปสักกี่ข้อแล้ว และเหลืออีกกี่ข้อที่เราต้องทำเพื่อไม่ให้เด็ก ๆ ของเราพลาดโอกาสที่จะเติบโตแข็งแรงทั้งกายและใจ

กินนมแม่ดีอย่างไร?

1.กินนมแม่แล้วฉลาดสุด ๆ

ความฉลาดของคนเรา  มาจากปัจจัยหลายอย่าง  ทั้งพันธุกรรม  การเลี้ยงดูที่เหมาะสม  และสิ่งสําาคัญอีกอย่างที่ไม่ควรละเลยก็คือ  การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนพอเหมาะ โดยเฉพาะ DHADHA เป็นกรดไขมันสายยาว เป็นโครงสร้างสําาคัญที่จําาเป็นต่อการมองเห็นและพัฒนาการทางสมองของเด็ก โดยต้องเริ่มสะสมตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ และออกมาสะสมต่อด้วยการกินนมแม่  มีการศึกษาพบว่าเด็กที่กินนมแม่จะมี  DHA  ในกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบของสมองสูงกว่าเด็กที่กินนมผงยังมีการวิจัยเพ่ิมเติมอีกว่า  การให้เด็กกินนมแม่จะส่งผลให้เด็กมีไอคิวสูงขึ้น  2 - 10 จุดด้วย ช่างเป็นอาหารมหัศจรรย์ที่เยี่ยมยอดจริง ๆ

2.กินนมแม่แล้ว 'สตรอง' ของแท้    

น้านมแม่เปรียบเหมือน ‘วัคซีนหยดแรก’ ของชีวิตลูก  มีคุณสมบัติในการป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิด สร้างภูมิต้านทานร่างกายให้ลูกน้อย เพราะในน้ําานมแม่มีสิ่งที่เรียกว่า ‘หัวน้ําานม’ เต็มไปด้วยสารอาหารจําาเป็นทั้งโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน สารช่วยการเจริญเติบโต เพราะฉะนั้น หากลูกได้กินนมแม่ยาวนานตลอด 6 เดือนแรกของชีวิต ก็รับรองได้ว่า ลูกของเราจะต้องเป็น ‘สายสตรอง’ ของแท้ แข็งแรงแน่นอน

3.กินนมแม่แล้วห่างไกลโรคฮิต

มีการศึกษาและการวิจัยออกมามากมายที่ระบุว่า  เด็กที่กินนมแม่จะป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้งท้องเสีย ปอดบวม ลําาไส้อักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และโรคยอดฮิตของเด็กยุคนี้อย่างโรคภูมิแพ้อีกด้วยทั้งนี้เพราะนมแม่ปลอดภัย สดเสมอ มีสารอาหารครบ การกินนมแม่จะทําาให้เด็กไม่ต้องรับโปรตีนจากนมวัว  ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารกและทําาให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้นั่นเอง

4.กินนมแม่แล้วประหยัดเงินได้มากมาย

เคยมีการคําานวณตัวเลขออกมาแล้วว่า  การให้เด็กกินนมแม่จะช่วยให้แต่ละครอบครัวประหยัดเงินได้มากมาย  โดยครอบครัวที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ประหยัดรายจ่ายถึงเดือนละ  4,000  บาท  ลองคิดดูว่า  ถ้าเราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  1  ปีเต็ม  จะช่วยประหยัดรายจ่ายครอบครัวถึง 48,000 บาทและถ้าคุณแม่ทั้งประเทศเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ติดต่อกันเป็นเวลามากกว่า  6  เดือน  จะช่วยให้ครอบครัวไทยประหยัดเงินรวมกันทั้งประเทศได้ถึง  1.8  ล้านบาทต่อปีเชียวนะ !

20 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c cimoqrwxz178

อาหารจำพวกน้ำตาลเมื่อกินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ใช้ในร่างกายและถ้ามากไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ดังนั้นการบริโภคน้ำตาลมากๆ ส่งผลให้มีน้ำหนักเกินอ้วนและทำให้เกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพตามมา

วิธีการง่ายๆ ในการเริ่มลดการกินหวาน

1.พยายามไม่เติมน้ำตาลหรือลดหวานในอาหาร

2.หลีกเลี่ยงการกินขนมหวาน หันมาบริโภคผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น มะละกอ ส้มโอ สับปะรด

3.หลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม

  ความหวานพบในอาหารเกือบทุกชนิด ทั้งในอาหารคาว หวาน และผลไม้ เช่น แกงกะทิ ขนมไทย เบเกอรี่ ขนุน ทุเรียน เงาะ เป็นต้น ซึ่งแฝงตัวอยู่ในรูปคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณมากน้อยของน้ำตาล จึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ สำหรับการควบคุมและดูแลร่างกาย

หวาน มัน เค็ม...เท่าไรถึงพอดี

1.ใน 1 วัน ‘เด็ก’  ไม่ควรทานน้ำมันเกิน 65 กรัมหรือ 6 ช้อนชา, น้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา และเกลือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา

2.ใน 1 วัน ‘ผู้ใหญ่’ ไม่ควรทานน้ำมันเกิน 65 กรัมหรือ 6 ช้อนชา, น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา และเกลือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา

 

19 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c bcimotvyz379

กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดยุติ “เอดส์และวัณโรค” ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงอันดับ 1 ถึงร้อยละ 13-14  เร่งรัดค้นหาวัณโรค โดยการเอกซเรย์ปอดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทุกรายและรายเก่าที่มีอาการ  รวมทั้งทดสอบทางผิวหนังค้นหาวัณโรคแฝงเพื่อรีบรักษา

ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข,  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ประชุมการบริหารจัดการเชิงนโยบายเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ ครั้งที่ 2/2561  เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบูรณาการฐานข้อมูลโรค ความจำเป็นการในเอกซเรย์ทรวงอกประจำปีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และการให้ยาป้องกันวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญปัญหาการติดเชื้อวัณโรคในผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี (เอดส์) เพราะประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่พบวัณโรคร่วมกับเอดส์สูง  ได้บูรณาการการดำเนินงานของสำนักโรคเอดส์ฯ และสำนักวัณโรค เพื่อยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบบ่อยที่สุด  1 ใน 3  ในผู้ป่วยเอดส์  เป็นเหตุให้เสียชีวิตมากที่สุด  โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ป่วยเป็นวัณโรคจะมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 13–14 หรือทุก 7 คนมีเสียชีวิต 1 คน ในขณะที่ผู้ติดเชื้อวัณโรคที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียงร้อยละ 7  เท่านั้น ดังนั้นหากวัณโรคถูกวินิจฉัยและเริ่มการรักษาที่รวดเร็ว จะลดอัตราการเสียชีวิต ลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน รวมทั้งการค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านรวดเร็วจะช่วยยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคป้องการระบาดในวงกว้างได้สำเร็จ 

ด้าน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งรัดดำเนินการเพื่อยุติเอดส์และวัณโรค มี 2 เรื่องสำคัญคือ การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อบูรณาการเชื่อมโยงให้เป็นโปรแกรมเดียว ข้อมูลชุดเดียวกันลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล  รวมถึงให้มีคืนข้อมูลให้พื้นที่ได้ใช้ประโยชน์โดยประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างใกล้ชิด และการเอกซเรย์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อคัดกรองวัณโรค รวมทั้งการรักษาวัณโรคที่แฝงตัวอยู่โดยยังไม่ปรากฏอาการ

สำหรับการดำเนินงานมีรายละเอียด ดังนี้ 1.คัดกรองวัณโรคด้วยการเอกซเรย์ปอดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ทุกราย ประมาณ 28,000 รายต่อปี 2.สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายเก่า จะเอกซเรย์ผู้ที่มีอาการไอผิดปกติ  มีไข้  น้ำหนักลด เหงื่อออกผิดปกติกลางคืน รวมทั้งเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดวัณโรค 3.ค้นหาวัณโรคแฝงในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง  หากให้ผลบวกจะรักษาทันที   ในปี 2561 นำร่องดำเนินการคัดกรองวัณโรคแฝงด้วยการทดสอบทางผิวหนัง ในโรงพยาบาล 31 แห่งและเรือนจำ 58 แห่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลกและสำนักวัณโรค ในอนาคตจะผลักดันการทดสอบและรักษาวัณโรคแฝงเข้าชุดสิทธิประโยชน์ต่อไป

19 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c bglmnopstwy2

แพทย์ชี้โรคอัลไซเมอร์เริ่มแรกอาการไม่รุนแรง แต่ปล่อยไว้นานอาจประสาทหลอน อาละวาด แนะวิธีปฏิบัติตัวชะลอการเกิดโรค

          นายแพทย์ปานเนตร  ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าโรคอัลไซเมอร์คือภาวะสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด เกิดจากการฝ่อตัวของสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองบริเวณนั้นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นเลือดในสมองค่อยๆ ถูกทำลาย ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลงและถูกทำลายทีละน้อย จนแพร่กระจายไปสู่สมองหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา  อาการของโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรง เช่น ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ ที่เพิ่งเกิดขึ้น วางของในที่ที่ไม่น่าจะไปวางไว้ ทำอะไรซ้ำๆ หลายครั้ง อารมณ์แปรปรวน ระยะกลางคือผู้ป่วยจะยิ่งมีปัญหาด้านความทรงจำ จำชื่อของคนรู้จักไม่ได้ ทำกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอนได้ยากขึ้น ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่อาการของโรครุนแรงมากขึ้น โดยมีอาการประสาทหลอน อาละวาด เรียกร้องความสนใจ น้ำหนักลด มีอาการชัก  บางครั้งอาการของโรคที่แย่ลงอย่างกะทันหัน อาจมีผลมาจากการใช้ยา การติดเชื้อ โรคหลอดเลือดในสมอง ทั้งนี้ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะซึมเศร้า ความเครียด ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นได้

          นายแพทย์ประพันธ์  พงศ์คณิตานนท์  ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ  กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันมีเพียงการใช้ยารักษาและการดูแลที่จะช่วยบรรเทาอาการด้านความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้เพียงชั่วคราว หรืออาจช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลงได้ในบางราย โดยการดูแลรักษา ได้แก่

          1. การวางแผนดูแลผู้ป่วย โดยแพทย์ร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งจะมีการพูดคุยสอบถามถึงสิ่งที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลอาจต้องการความช่วยเหลือ

          2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย มีการปรับสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต รวมทั้งการสร้างนิสัยและกิจวัตรประจำวันที่ไม่จำเป็นต้องใช้การนึกหรือจำอาจทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น

          3. การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจให้ผู้ป่วยเดินเป็นประจำทุก ๆ วัน เพื่อปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเดิน อาจขี่จักรยานอยู่กับที่หรือ ออกกำลังกายโดยนั่งบนเก้าอี้แทน

          4. การรับประทานอาหาร ควรเสริมด้วยน้ำปั่นจากผลไม้ผสมนมหรือโยเกิร์ตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแคลอรีสูง และอาจเพิ่มผงโปรตีนผสมลงไป หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

          5. การใช้ยารักษา แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการบางชนิดและชะลอการพัฒนาของโรค

          6. การบำบัดทางจิต โดยนักจิตวิทยา เช่น การกระตุ้นสมองช่วยปรับปรุงความสามารถด้านความทรงจำ ความสามารถทางภาษา และทักษะการแก้ปัญหา รวมทั้งการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด

          สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรค แต่ยังมีวิธีที่อาจช่วยชะลอการเริ่มต้นของโรคด้วยการปฏิบัติดังนี้ เลิกสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ใน 5 วันต่อสัปดาห์ ควบคุมระดับความดันโลหิต และที่สำคัญควรฝึกการทำงานของสมอง เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา เป็นต้น

19 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c chjkpswxz149

          "หมูกรอบ" ทำมาจากหมูสามชั้น นำมาหมักกับเครื่องปรุงที่ใช้เกลือปรุงรส หรือซีอิ๊วต่างๆ แล้วนำไปทอดในน้ำมันท่วมๆ จนกรอบ เป็นอาหารที่หลายคนโปรดปรานเป็นพิเศษ ก็แหมมันอร่อยหนิใครจะไปอดใจไหวล่ะเนอะ แต่รู้หรือไม่ว่า หากเราบริโภคอาหารประเภทนี้เป็นประจำแล้วละก็ อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ได้เป็น 10 โรคเชียวล่ะ

          หมูกรอบเสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

          1. โรคอ้วน และอ้วนลงพุง เพราะหมูกรอบทำมาจากหมูสามชั้นที่มีไขมันอิ่มตัวสูงรวมไปถึงการทอดด้วยน้ำมัน และน้ำมันเป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูงเช่นกัน ซึ่งหมูกรอบเปล่าๆ 100 กรัมให้พลังงานถึง 385-420 แคลอรี และมีไขมันถึง 30 กรัม โดยหากเป็นข้าวหมูกรอบพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 550-600 กิโลแคลอรี ดังนั้น เมื่อบริโภคน้ำมันเข้าไปก็จะทำให้มีโอกาสได้รับพลังงานเกิน หากรับประทานบ่อยๆ ทำให้เกิดโรคนี้ตามมาได้

          2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ  หากผู้ที่มีภาวะอ้วน หัวใจจะทำงานหนักมากกว่าคนปกติ เพราะหัวใจจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงให้เพียงพอทั่วร่างกายในระยะยาว จึงก่อให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติได้

          3. โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน เนื่องจากน้ำมันที่ใช้ทอดหมูกรอบโดยส่วนมากแล้วจะใช้ไขมันที่มาจากน้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันหมู อาจมีการใช้น้ำมันพืชบ้าง เช่นน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งน้ำมันปาล์มกับน้ำมันหมูจะมีไขมันอิ่มตัวสูง ข้อดีของน้ำมันในกลุ่มนี้คือสามารถทนต่อความร้อนได้ดีกว่าเพราะมีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่า แต่ไขมันชนิดนี้ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจ ไขมันอิ่มตัวจะไปเพิ่มระดับของแอลดีแอลคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลตัวนี้อยู่ในร่างกายมากจะทำให้เสี่ยงต่อโรคนี้ได้

          4. โรคมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เพราะการที่น้ำมันผ่านความร้อนสูงโครงสร้างของน้ำมันจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้ขายใช้น้ำมันสำหรับทอดซ้ำแล้วซ้ำอีกจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารอะคริลาไมด์ที่มักพบในอาหารที่ทอด ซึ่งจากการศึกษาพบว่าเมื่อร่างกายได้รับสารอะคริลาไมด์สะสมจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

          5. โรคระบบทางเดินหายใจ และ โรคมะเร็งปอด ไอของน้ำมันที่ยิ่งทอดซ้ำ ยิ่งมีสารพิษโพลีไซคลิก อะโรมาติก โฮโดรคาร์บอนด์ (PAHs) ซึ่งเป็นสารประเภทเดียวกันกับที่พบในควันจากรถยนต์ ไฟจากการหุงต้ม หรือควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อทอดอาหารจนน้ำมันร้อน ที่จุดหนึ่งไอน้ำมันจะระเหยอยู่ในอากาศ เมื่อสูดเข้าไปในร่างกายแล้วก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคของระบบทางเดินหายใจ และมะเร็งปอดได้

          6.โรคไต เพราะความเค็มที่ได้มาจากการหมักหมู ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้เสนอว่าปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันโดยที่เกลือไม่ควรเกิน 5 กรัม/วัน เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา (หรือเทียบได้กับปริมาณโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน) ข้าวหมูกรอบ 1 จานจะมีโซเดียมอยู่ที่ 700-1,000 มิลลิกรัม

          7. โรคเบาหวาน เพราะผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ และการรับประทานโซเดียมเยอะก็ยังเสี่ยงต่อโรคนี้ด้วย

          8. โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากในหมูกรอบมีโซเดียมสูงอาจนำมาซึ่งโรคดังกล่าวได้เช่นกัน อีกทั้งการทอดในน้ำมันซ้ำๆ จะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในน้ำมัน เช่น สารโพลาร์ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง

          ทั้งนี้ แล้วนั้นไม่ใช่ว่าจะต้องเลิกรับประทานหมูกรอบไปตลอดชีวิต แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม 1 สัปดาห์ควรไม่เกิน 1-2 ครั้ง และเลือกรับประทานกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักสด ผักต้ม แทนการกินหมูกรอบกับอาหารทอดอย่างอื่นหรือผัดน้ำมัน นอกจากนี้แล้วควรออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อช่วยลดไขมันสะสมที่จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมานั่นเอง

16 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.