Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

newscms thaihealth c ghlnstvxz679

ชื่ออื่นๆ : โคมจีน เผาะแผะ ทุ้งทิ้ง มะก่องเช้า ตุ้งติ้ง ทุงทิง โคมญี่ปุ่น ฯลฯ จัดเป็นยาเย็น มีรสขม ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาอาการดีซ่าน ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ หวัดแดด ไอร้อนในปอด ไอหืดเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ คนจีนนิยมปลูกกันตามสวนยาจีนและนิยมใช้กันมาก

วิธีใช้ :

1.ใช้ทั้งต้นตำละลายกับเหล้า เอาสำลีชุบน้ำยาอมไว้ข้างๆ แก้มและค่อยๆ กลืนน้ำยาผ่านลำคอทีละน้อยๆ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในคอ (แซง้อ) และแก้คออักเสบวิเศษนัก สำหรับท่านที่ไม่ดื่มสุรา จะใช้น้ำส้มสายชูแทนได้เป็นอย่างดี และได้ผลอย่างเดียวกัน

2.ใช้ภายใน แก้ร้อนใน กระหายน้ำวิเศษ

3.ใช้ภายนอก แก้ฟกบวม อักเสบ ทำให้เย็น

4.แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอมีเสมหะ หอบหืด ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 500 กรัม ผสมน้ำเชื่อมให้มีปริมาณ 500 ซี.ซี. รับประทานครั้งละ 50 ซี.ซี. วันละ 5 ครั้งหลังอาหาร 10 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา กินติดต่อกัน 3 รอบ แต่ละรอบพัก 3 วัน

6.แก้ดีซ่าน ใช้ทั้งต้น 2 ต้น ต้มน้ำ คั้นเอาน้ำข้นๆ มาผสมน้ำตาลพอสมควร ให้รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง บางคนรับประทาน 10-15 ครั้ง ก็หายตัวเหลือง

7.แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นนี้สดๆ (หรืออย่างแห้งก็ใช้ได้) 3 หัว แผ่น ฝักชุบน้ำตาล 2 แผ่น ใส่น้ำ 1 ถ้วย ต้มให้เหลือครึ่งถ้วย รับประทานครั้งเดียวหมด เด็กก็รับประทานลดลงตามส่วน จากการรักษาคนไข้ร้อยกว่าราย บางคนรับประทาน 4-10 ครั้งก็หาย บางคนรับประทานติดต่อกันถึง 2 เดือนจึงหาย

8.ฝีอักเสบมีพิษ ใช้สดๆ ตำให้แหลกพอก หรือถ้ามีแผลด้วย ก็เอาต้มน้ำชำระด้วย

9.โรคช่องปากอักเสบ ลิ้นอักเสบ น้ำปัสสาวะเป็นสีเหลือง ใช้โทงเทงและชะเอม อย่างละ 2 สลึง ต้มกินก็หาย

10.ยารักษาโรคหืด ใช้ทั้งต้นแห้ง 1/2 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลกรวดลงไปให้หวาน รับประทานครั้งบะ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเป็นเวลา

10 วัน หยุดยา 3 วัน รับประทานต่อไปอีก 10 วัน พักอีก 3 วัน แล้วรับประทานต่อไปอีก 10 วัน หอบหืดจะได้ผลดี

11.ยาขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน ใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน

21 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c bghnprx45679

ชื่ออื่น : มันเภา หัวถั่ว เครือเขาขน ถั่วหัว ถั่วม้ง ฯลฯ ผลไม้ประเภทเฉาะที่พบเห็นตามรถเข็นผลไม้เสมอๆ ส่วนที่กินเรียกว่า หัวมันแกว (รากแก้ว) นอกจากนิยมกินสดๆ หรือจิ้มพริกเกลือแล้ว ยังทำอาหารอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้ม แกงป่า ทับทิมกรอบ ฯลฯ

 เนื้อมันแก้วมีสีขาว รสหวานกรอบ มันแกวมีกรดโฟลิกช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ควบคุมน้ำหนัก ช่วยแก้กระหายน้ำ ดับพิษไข้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย จัดเป็นผลไม้ควบคุมน้ำหนักที่ให้ประโยชน์สูงหากินได้ง่าย

20 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c bfgjlorvwxz8

คนอ้วนส่วนใหญ่มีไขมันที่หน้าท้อง และเพิ่มมากในช่องท้อง หรือ “อ้วนลงพุง” คนอ้วนลงพุง มีโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้น อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เพราะยิ่งรอบพุงใหญ่มากเท่าไร ไขมันยิ่งสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น นำมาสู่การเป็น "โรคอ้วนลงพุง" ตามด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง) รอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) เพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า

การที่จะดูว่า “อ้วนลงพุง” หรือไม่นั้น สามารถประเมินด้วยตาเปล่า หรือใช้สายวัดที่หาได้ทั่วไป วัดเส้นรอบพุงที่ระดับสะดือว่า วงรอบพุง ยาวกี่เซนติเมตร ทั้งนี้ผู้ชาย หากมากกว่า 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) หรือผู้หญิง หากมากกว่า 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว) ถือว่า “อ้วนลงพุง” โดยจำง่ายๆ เส้นรอบพุง ต้องไม่

เกินส่วนสูงหารสอง เช่น สูง 180 เซนติเมตร รอบเอวต้องไม่เกิน 180 หาร 2 เท่ากับ 90 เซนติเมตร เส้นรอบพุงต้องไม่เกินนี้ ตัวเลขยิ่งมากยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะเบาหวานและคณะ

เคล็ดลับจัดการปัญหาน้ำหนักและอ้วนลงพุง คือการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก และเชื่อมั่นต่อการลดน้ำหนัก ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์

20 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c aghjmpruw129

หากจะกล่าวว่า “สมาร์ทโฟน คืออวัยวะที่ 33 ของมนุษย์เรา” ก็คงจะไม่ผิด เพราะทุกวันนี้สมาร์ท โฟนได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะทำกิจวัตรประจำวันหรือหน้าที่การงาน ทำให้สายตาอ่อนล้าได้ง่าย จากการศึกษาของ กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย พบว่า การติดแผ่นกรองแสงบนสมาร์ทโฟน ไม่สามารถลดระดับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากจอภาพลงได้ทั้งหมด การติดแผ่นกรองแสง จึงทำได้แค่เพียงช่วยให้ผู้ใช้เกิดความสบายใจเท่านั้น ดังนั้นเราควรหันมาบริหารดวงตา เพื่อลดอาการอ้อนล้า และความเสี่ยงจากการเป็นโรคต้อหิน ด้วยวิธีง่ายๆ ทำเป็นประจำทุกวัน ดังนี้

บริหารดวงตา ด้วย 5 ท่า ลดเสี่ยง

1) ครอบดวงตา โค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉยๆ ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขา ชายทะเล หรือจินตนาการถึงวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส มีรายละเอียดต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น ดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย ที่สามารถมองเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน ภาพจากจินตนาการของเราเอง จะช่วยเยียวยาดวงตาได้เป็นอย่างดี

2) กวาดสายตาแบบมองไม่ต้องจ้อง โดยกวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกลๆ เพื่อทำให้ดวงตาผ่อนคลาย

3) กระพริบตาบ่อยๆ โดยให้กระพริบตา 1 - 2 ครั้ง ทุกๆ 10 วินาที ฝึกให้เป็นนิสัย จะช่วยให้แก้วตาสะอาด มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้ที่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ยิ่งจำเป็นต้องกระพริบตา

4) โฟกัสภาพไกลและใกล้ เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลสุด ยกนิ้วชี้ซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ในขณะเดียวกันก็ยกนิ้วชี้ขวาให้ห่างจากใบหน้าสัก 3 นิ้ว หรือประมาณ 7.5 เซ็นติเมตร โดยเพ่งมองไปแต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อยๆ เมื่อมีโอกาส

5) ชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่นหลังตื่นนอนทุกเช้า โดยวักน้ำอุ่นชโลมดวงตาสัก 20 ครั้ง จากนั้นจึงวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง ทั้งนี้น้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาได้ดีขึ้น ส่วนน้ำเย็นนั้นจะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน

โรคต้อหินนั้นเป็นภัยร้ายต่อดวงตา หากเราหาทางป้องกันและรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของโรค ไปตรวจสุขภาพของดวงตากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ เราก็สามารถใช้งานดวงตาคู่สวย มองโลกที่สดใสใบนี้ตราบนานเท่านาน

20 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.

newscms thaihealth c bcdgkopuwx39

โรคไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B) เป็นการอักเสบของตับซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบ บี โดยเชื้อไวรัสจะบุกรุกสู่เซลล์ตับ และก่อให้เกิดการอักเสบขึ้น ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ในร่างกาย แต่ตับมีการอักเสบต่อเนื่องทำให้เป็นตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด

การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี

  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยาง
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู
  • แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะคลอด
  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มหรือสิ่งมีคมที่ติดเชื้อระหว่างปฏิบัติงาน
  • โดยการสัมผัสกับ เลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล

อาการของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี

อาการของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 45 – 90 วัน บางรายอาจจะนานถึง 180 วัน ผู้ป่วยที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามตัว มีไข้ แน่นท้อง ถ่ายเหลว เป็นอยู่ 4 – 15 วัน หลังจากนั้นจะมีตัวเหลือง  ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไปภายใน 1 – 4 สัปดาห์ บางรายอาจเป็นนานถึง 6 สัปดาห์ จึงสามารถทำงานได้ปกติ สำหรับเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกคลอด อาจไม่มีอาการ

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ส่วนใหญ่หายเอง แต่จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งต้องรักษาโดยการให้ยา interferon หรือ lamivudine และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

โรคไวรัสตับอักเสบ บี สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี หากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลตัวเอง และต้องคำนึงถึงบุคคลใกล้ชิดด้วย เพราะอาจนำเชื้อไปสู่คนใกล้ชิด วิธีการปฏิบัติตัวหากมีเชื้ออยู่ในร่างกายคือ

  1. รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  2. รับการตรวจเลือดเพื่อติดตามอาการ ตามแพทย์แนะนำ
  3. บอกให้คนใกล้ชิดทราบ หากคนใกล้ชิดไม่มีภูมิคุ้มกันอาจพิจารณาฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  4. มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
  5. งดบริจาคโลหิต
  6. ไม่ดื่มสุรา ของมึนเมา
  7. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  8. พักผ่อนให้เพียงพอ

20 กุมภาพันธ์ 2561 - ศูนย์การเรียนรู้ สสส.