Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button

ข้อมูลบริการ

ข่าวประชาสัมพันธ์

IMAGE ประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลนครอุบลราชธานี ครั้งที่1/2564
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 น. นายอัมพล ทองพุ ปลัดเทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลนครอุบลราชธานี ครั้งที่1/2564 โดยมี นางวรรณสุข... Read More...
IMAGE มอบชุดผจญเพลิง,ชุดPPE,หน้ากากอนามัย,เครื่องวัดอุณหภูมิและเจลแอลกอฮอล์
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 น. นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และหัวหน้าส่วนราชการ มอบชุดผจญเพลิง 10 ชุด... Read More...
IMAGE ประชุมคณะผู้บริหารหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือนกรกฎาคม2564
  วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาล นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี เป็นประธาน ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ครั้งที่ 4/2564 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564... Read More...
IMAGE ล้างทำความสะอาดถนนและตลาดโต้รุ่งราชบุตร
วันที่ 18 กรกฏาคมม 2564 นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม เทศบาลนครอุบลราชธานี ลงพื้นที่ ตัดกิ่งไม้ เก็บกิ่งไม้... Read More...
IMAGE พิธีทำบุญตักบาตรวันอาทิตย์ ถวายดอกบัว(วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564)
  วันที่ 18 กรกฎาคม 2564เวลา 06.30 น. นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นำหัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี และสาธุชนชาวอุบลราชธานี... Read More...
IMAGE ร่วมแจกจ่ายข้าวสารต้านโควิด-19 จากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ณ ศูนย์ประสานงานโครงการบ้านมั่นคงอุบลราชธานี (วัดกุดคูณ ห้องประชุมฮักแพง) นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี สมาชิกสภาเทศบาลฯ... Read More...

ประกาศ

IMAGE กำหนดยื่นแบบชำระภาษี ประจำปี พ.ศ.2563
เทศบาลนครอุบลราชธานี ขอเชิญชวนผู้มีหน้าที่ที่ต้องชำระภาษีในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ติดต่อยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษี ประจำปี 2563 ดังนี้ 1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง...
IMAGE ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภ.ด.ส.1) ก.ค.2563
ภ.ด.ส.1 ชุดที่ 1 ภ.ด.ส.1 ชุดที่ 2 ภ.ด.ส.1 ชุดที่ 3 ภ.ด.ส.1 ชุดที่ 4 ภ.ด.ส.1 เทศบาลนครอุบลราชธานี ปี 2563
IMAGE การขายพัสดุครุภัณฑ์ที่ชำรุดและเสื่อมสภาพ
Download.... รายการครุภัณ์ชำรุดขายทอดตลาดเทศบาลนครุอุบลราชธานี
IMAGE ประกาศงดถนนคนเดิน
  วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ตามประกาศจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง จึงมีมาตราการห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 200 คน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส Covid - 19...
IMAGE คำแถลงนโยบายนางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี
แถลงนโยบาย นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม           ท่านประธานสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี  และท่านสมาชิกสภาเทศบาลนครอุบลราชธานี  ผู้ทรงเกียรติทุกท่าน          ...

Youtube Cityub Chanel

 

 

นโยบายการบริหารงานของนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี

กำหนดแนวนโยบายในการบริหารงานของเทศบาลนครอุบลราชธานี ภายใต้หลัก 3 ประการ คือ

1. ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง
2. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
3. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

การบริหารงานเทศบาลนครอุบลราชธานี จะยังให้ความสำคัญกับการทำงานในเชิงบูรณาการ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ชุมชน กลุ่มองค์กรต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีนโยบายการบริหารการพัฒนาเทศบาลนครอุบลราชธานี ดังนี้

 

นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน

“จะปรับปรุงถนนในเขตเทศบาลให้เป็นถนนที่เป็นมาตรฐาน และเหมาะสมกับชุมชน วางระบบระบายน้ำเต็มรูปแบบ มีโครงข่ายเชื่อมต่อ จัดภูมิทัศน์สวยงามด้วยระบบสายไฟลงใต้ดินในถนนสายหลัก ขยายการให้บริการไฟฟ้าสาธารณะ       ให้อย่างทั่วถึง สร้างทางเท้า  ปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงามและร่มรื่น”

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

“จะพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาล และไม่มีขยะตกค้างตามชุมชน   รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากขยะรวมถึงการลดมลพิษ ทางอากาศ ฝุ่นละออง และเสียง ตลอดจนการจัดให้มีระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ และบ่อดักไขมันก่อนปล่อยน้ำเสียลงท่อระบายน้ำ”

นโยบายด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

“จะส่งเสริมการนันทนาการต่างๆ แก่ผู้สูงอายุ จัดสร้างศูนย์บริการผู้สูงอายุ ดูแลช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้การสงเคราะห์เด็ก สตรี      คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม รวมทั้งจะถือเอาปัญหาเยาวชน และครอบครัว    เป็นเรื่องสำคัญ  อีกทั้งจะจัดสวนสาธารณะให้มีความสมบูรณ์สวยงาม ปลอดภัย เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และศูนย์กลางออกกำลังกาย ของประชาชน และจะสานต่อโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำมูล เพื่อการพักผ่อนออกกำลังกาย และการท่องเที่ยว  อีกทั้งส่งเสริมให้มีสถานที่ออกกำลังกายสำหรับประชาชน รวมทั้งการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนทุก ชุมชน”

นโยบายด้านเศรษฐกิจ 

“จะส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งด้านศาสนา งานประเพณี   ศิลปวัฒนธรรม และเทศกาลตลอดทั้งปี รวมทั้งการสร้างภาคีเครือข่ายทางเศรษฐกิจ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน   และอินโดจีน เพื่อการขับเคลื่อนพัฒนาเทศบาลนครอุบลราชธานี ให้เป็นศูนย์กลางทางการค้า การท่องเที่ยว การลงทุนถือเป็นยุทธศาสตร์สร้างโอกาสให้กับประชาชน  ในเรื่องการมีโอกาสในการสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น โดยจะเน้นให้ความสำคัญการมี  ส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้การพัฒนามุ่งสู่การพึ่งตนเองให้ได้”

นโยบายด้านการศึกษา 

“จะส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีมาตรฐาน และเป็นธรรมด้วยความเสมอภาค จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลทุกคน  จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพิ่มขึ้น มีศูนย์การเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้เพื่อบริการเยาวชนและประชาชน และจัดให้มีศูนย์พัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต”

นโยบายด้านสาธารณสุข 

“จัดให้มีศูนย์บริการสุขภาพชุมชน และการแพทย์ทางเลือกให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ  ทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ทันสมัย   เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง    โดยประชาชนทุกระดับต้องเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเท่า เทียม”  พัฒนาตลาดสด และสถานประกอบการทุกแห่งในเขตเทศบาล   ให้ถูกสุขลักษณะ สะอาด มีคุณภาพ  โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ, ดูแลรักษาจัดระบบบริการสาธารณสุขเพื่อประชาชนให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งด้าน   การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ สนับสนุน และบูรณาการระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน กับหน่วยงาน  ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ และสามารถบริการช่วยเหลือประชาชนได้ตามมาตรฐาน

นโยบายด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและศาสนา 

“จะร่วมกับประชาชน ชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ อนุรักษ์งานประเพณีศิลปวัฒนธรรม และศาสนา เช่น งานแห่เทียนพรรษา งานลอยกระทง งานสงกรานต์ งานแข่งเรือยาว งานบุญของคุ้มวัด ชุมชน เป็นต้น รวมทั้งการจัดให้มีโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม  พัฒนาปรับปรุงศาสนสถานให้มีความพร้อมรองรับการปฏิบัติศาสนกิจของประชาชนได้ อย่างเหมาะสม”

นโยบายด้านการท่องเที่ยว และการกีฬา 

“จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องทุกรูปแบบ เพื่อทำให้เทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภาคอีสานตอนล่าง มีการจัดพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  โดยอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเก่า และส่งเสริมให้มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่นอกจากนี้ยังสนับสนุนการแข่งขันกีฬา เพื่อพัฒนศักยภาพ    ด้านการกีฬาของเด็กเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้มีทักษะด้านการกีฬา และส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชนอย่างเหมาะสม”

นโยบายด้านการจราจร 

“จะปรับปรุงระบบจราจร  โดยสร้างถนนเพื่อเพิ่มช่องทางจราจร  สนับสนุน ประสาน ส่งเสริมภารกิจและโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาจราจร อย่างเป็นระบบรวมทั้งสร้างวินัยการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพของสัญญาณและเครื่องหมายจราจร  จัดระบบการขนส่งมวลชน เชื่อมโยงระหว่างชุมชน ระหว่างเมือง รองรับการเจริญเติบโตของเมือง” จัดรถบริการประชาชน  โดยเฉพาะนักเรียนเพื่อลดความแออัดของการจราจร และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงเวลาการจราจรหนาแน่น    ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)  เพื่อความปลอดภัยให้กับชุมชน และเส้นทางจราจร

นโยบายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  

“จะจัดระบบการช่วยเหลือ ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยทุกรูปแบบ   ให้เพียงพอ และสามารถช่วยเหลือประชาชนทุกสถานการณ์ครอบคลุมทุกชุมชน”

จากนโยบายที่แถลงมาทั้งหมดนี้  ดิฉันในฐานะนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี จะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานการพัฒนาเทศบาลนครอุบลราชธานี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านประธานสภา และสมาชิกสภาเทศบาล    ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน   ในการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติจะให้ความร่วมมือ ความอนุเคราะห์และสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้บริหารเทศบาล ตลอดจนพนักงานเทศบาลในฝ่ายประจำ เพื่อการแปลงนโยบายดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่การพัฒนาเทศบาลนครอุบลราชธานี อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและความผาสุกของประชาชน

Logo Tesaban Bule

ตราสัญญลักษณ์

ลักษณะ : ดวงตรา ประจำเทศบาลนครอุบลราชธานีเป็นรูปดอกบัวขนาดใหญ ่เผยอกลีบบานอยู่เหนือน้ำ สองข้างประกอบด้วยดอกบัวตูม ก้านละดอกและใบก้านและสองใบ ครอบคลุมด้วยรัศมีรูปครึ่งวงกลม ด้านล่างมีกรอบรูป รูปครึ่งวงกลม ภายในจารึกอักษรไทยว่า " เทศบาลนครอุบลราชธานี "
ความหมาย :
ดอกบัวบาน : ดอกบัวตูม : ใบบัว : รัศมีครึ่งวงกลม
        อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี
        อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี
ความหมายย่อ
ดอกบัวบาน : อุบลราชธานีที่มีความเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะแผ่กระจายความดีงามไปทั่วปฐพี
ดอกบัวบานตูม : บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานี คือ พระวรราชภักดี และ พระตา ที่ได้นำท้องถิ่นแห่งนี้มาสู่ความเจริญโอบอุ้มชูมาแต่บรรพกาล
ใบบัว : ความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมให้สิ่งชั่วร้ายมาแปดเปื้อน
รัศมีครึ่งวงกลม : ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และความเป็นปราชญ์อันยิ่งใหญ่ที่อยู่คุ้มครองชาวอุบลราชธานีตลอดกาล

วิสัยทัศน์

“ รวมคนทุกชนชั้น สร้างสรรค์ทุกชุมชน ร่วมพัฒนานครอุบล สู่มหานคร ”

ยุทธศาสตร์ มีแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบจราจร และผังเมือง
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ/สังคมและสิ่งแวดล้อม
  3. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร

เป้าประสงค์

  1. มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ให้มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนเกิดความสมานฉันท์ อยู่ดีกินดี ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  3. เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางด้านการวิชาการ ด้านการกีฬาเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดี
  4. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น มีศักยภาพการผลิตสินค้าและบริการ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  6. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร ให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

  1. มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนเกิดความสมานฉันท์ อยู่ดีกินดี ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  3. จำนวนเด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ   และกีฬาเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  4. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการ ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  5. พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูแหล่งน้ำ สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  6. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร ทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 90

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา

  1. 1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
    1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
    2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบจราจร
    3. ปรับปรุงและพัฒนาการวางผังเมือง
  1. 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ
    1. การแก้ไขปัญหาความยากจนและเพิ่มรายได้ของประชาชน
    2. ส่งเสริมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน
  2. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวและการให้บริการ
    1. ปรับปรุงและพัฒนาการคมนาคมขนส่ง
  1. 3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    1. สร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย
    3. ปรับปรุงและพัฒนาระบบกำจัดขยะมูลฝอย
    4. ปรับปรุงและพัฒนาแม่น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ
    5. ปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ของเมือง
    6. ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  1. 4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
    1. ปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
    2. ปรับปรุงและพัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    3. จัดระเบียบชุมชนในการสร้างความปลอดภัยและเป็นระเบียบเรียบร้อย
    4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้ความรู้ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
    5. ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และให้ความรู้แก่ประชาชน
    6. จัดการสุขาภิบาลชุมชนและสถานที่
    7. ส่งเสริมและพัฒนาสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชน
    8. ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีทางการศึกษา
    9. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการด้านการศึกษา
    10. จัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
    11. ส่งเสริมเอกลักษณ์และประเพณีท้องถิ่น
    12. ส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา
    13. ส่งเสริมภาครัฐ /เอกชน /ประชาชน ในการมีส่วนร่วมพัฒนาการเมืองการปกครองระบอบ -ประชาธิปไตย
    14. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
    15. ส่งเสริมและพัฒนากีฬาสากล และกีฬาพื้นบ้าน
    16. ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  1. 5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
    1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน
    2. ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร
    3. ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ในการปฏิบัติงาน
    4. ปรับปรุงและพัฒนารายได้
    5. ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของท้องถิ่น
    6. ปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติงานและเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    7. ส่งเสริมและพัฒนาการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับหน่วยงานอื่น

       ภายในประเทศและต่างประเทศ

  1. ส่งเสริมและพัฒนาการบูรณาการแผนงาน โครงการ และกิจกรรมของหน่วยงาน

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

Positioning จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและศักยภาพของเทศบาลนครอุบลราชธานี จึงกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) เทศบาลฯ ไว้ 3 ประเด็น คือ

  1. การพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมของเมืองให้มีมาตรฐาน สวยงาม และมีความปลอดภัย
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
  3. การพัฒนาระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมุ่งสนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

:: แผนพัฒนาเทศบาลที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุมปี พ.ศ.2564

1)   ตามพระราชบัญญัติเทศบาล..2496  มาตรา 56   เทศบาลนครอุบลราชธานี  มีหน้าที่ต้องทำในเขต เทศบาล ดังต่อไปนี้

  1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
  3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
  7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
  9. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
  10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
  12. ให้มีและำรุงรักษาทางน้ำ
  13. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
  14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
  16. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด้ก
  17. กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
  18. การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
  19. จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
  20. จัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  21. การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
  22. การส่งเสริมกิจการท่องเที่ยว
  23. หน้าที่อื่นตามที่กฏหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

2)   มาตรา  54   เทศบาลนครอุบลราชธานี  อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล  ดังต่อไปนี้

  1. ให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  2. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
  3. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
  4. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
  5. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
  6. ให้มีการสาธารณูปการ
  7. จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
  8. จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
  9. ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
  10. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  11. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
  12. เทศพาณิชย์

3)   พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น..2542    ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะของเทศบาล (มาตรา  16)  ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2. รักษาทางบก  ทางน้ำ
  3. ควบคุมตลาด  ท่าเรือ  ที่จอดรถ
  4. การสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้าง
  5. การสาธารณูปการ
  6. ส่งเสริมอาชีพ
  7. การพาณิชย์  การลงทุน
  8. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ
  9. กำจัดมูลฝอย  สิ่งปฏิกูล  น้ำเสีย
  10. การสาธารณสุขและอนามัย
  11. ควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
  12. ควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  13. ควบคุมการฆ่าสัตว์
  14. รักษาความปลอดภัยสาธารณสถาน
  15. ส่งเสริมการท่องเที่ยว
  16. จัดการศึกษา
  17. สังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต
  18. บำรุงรักษาจารีตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
  19. จัดการที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด
  20. ดูแลสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  21. ส่งเสริมกีฬา
  22. ส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ
  23. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
  24. จัดการป่าไม้  ที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติ
  25. การผังเมือง
  26. การขนส่งและการจราจร
  27. ดูแลรักษาที่สาธารณะ
  28. ควบคุมอาคาร
  29. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  30. การรักษาความสงบเรียบร้อย
  31. กิจการอื่นตามประกาศของคณะกรรมการ

 

 

 

 

13838567 10206922420440297 367712712 o

      แต่เดิมนั้น ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี มิได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาลมาก่อน ท้องถิ่นจึงเข้าสู่ระบบการปกครองเป็นครั้งแรกโดยได้รับการสถาปนาเป็น เทศบาลเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2478 โดยผลของพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 52 ตอนที่ 79 พ.ศ.2478 การจัดตั้ง เทศบาลในขั้นต้น มีเนื้อที่ 1.65 ตารางกิโลเมตร
      ต่อมา เมื่อเมืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้มีการประกาศขยายเขตเทศบาลอีก 2 ครั้ง คือ ประกาศขยายเขตโดยพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2480 กับพระราชกฤษฎีกาขยายเขต พ.ศ.2499 อันมีเนื้อที่ 5.30 ตารางกิโลเมตร เป็นครั้งแรก โดยประกาศขยายเขต ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2524 เป็นครั้งที่ 2 โดยมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ตำบลในเมือง พร้อมทั้งบางส่วนของตำบลแจระแม ตำบลขามใหญ ตำบลปทุม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 14 ก. วันที่ 8 มีนาคม 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2542 เป็นต้น โดยยังมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร เท่าเดิม
       ปัจจุบัน พื้นที่ของเทศบาลนครอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านเมืองทางด้านทิศใต้ บริเวณตอนกลางของเมือง คือทุ่งศรีเมืองและบริเวณรอบ ๆ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มคล้ายแอ่งกะทะ ตั้งแต่ถนนอุปราชหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวลงมาถึง ถนนเขื่อนธานีิ พิพิิธภัณฑสถานแห่งชาติสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ถึงถนนหลวงบริเวณกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลยขึ้นไปวัดทุ่งศรีเมือง และวัดมณีวนาราม

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ   ติดกับถนนรอบเมือง และบริเวณเขตทหารอากาศ
ทิศใต้   
ติดกับแม่น้ำมูล
ทิศตะวันออก ติดกับห้วยวังนอง และบริเวณเขตทหารอากาศ
ทิศตะวันตก ติดกับถนนรอบเมือง และลำมูลน้อย
ประชากร  
ชาย 35,450 คน
หญิง 40,626 คน
จำนวนบ้าน 32,016 หลังคาเรือน
จำนวนครอบครัว

18,518 ครอบครัว

หมายเหตุ

ประจำเดือน เมษายน 2564

ตราสัญญลักษณ์

         ลักษณะ : ดวงตรา ประจำเทศบาลนครอุบลราชธานีเป็นรูปดอกบัวขนาดใหญ ่เผยอกลีบบานอยู่เหนือน้ำ สองข้างประกอบด้วยดอกบัวตูม ก้านละดอกและใบก้านและสองใบ ครอบคลุมด้วยรัศมีรูปครึ่งวงกลม ด้านล่างมีกรอบรูป รูปครึ่งวงกลม ภายในจารึกอักษรไทยว่า " เทศบาลนครอุบลราชธานี "
ความหมาย :
ดอกบัวบาน : ดอกบัวตูม : ใบบัว : รัศมีครึ่งวงกลม
        อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี
        อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี
ความหมายย่อ
ดอกบัวบาน : อุบลราชธานีที่มีความเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะแผ่กระจายความดีงามไปทั่วปฐพี
ดอกบัวบานตูม : บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานี คือ พระวรราชภักดี และ พระตา ที่ได้นำท้องถิ่นแห่งนี้มาสู่ความเจริญโอบอุ้มชูมาแต่บรรพกาล
ใบบัว : ความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมให้สิ่งชั่วร้ายมาแปดเปื้อน
รัศมีครึ่งวงกลม : ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และความเป็นปราชญ์อันยิ่งใหญ่ที่อยู่คุ้มครองชาวอุบลราชธานีตลอดกาล


 

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

2721671
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
538
637
1875
2709192
9787
38851
2721671

Your IP: 3.145.83.150
2024-05-07 19:26